วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประวัติชาวภูไท

ประวัติความเป็นมาในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ

1. ภูไทขาว อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า “ภูไทขาว”

2. ภูไทดำ อาศัยอยู่เมือง ควาย,เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า “ภูไทดำ”ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น “สิบสองจุไทย”เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรลานนา)

00000ใน พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ สิบสองจุไทยอยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกิดการอัตคัดอดอยาก และความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวภูไท กับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวภูไทเป็นจำนวนมาก (ประมาณหมื่นคน) อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอขึ้นกับเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของเมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวภูไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ให้แก่ เจ้าเมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย

การอพยพของชาวภูไทเข้าสู่ประเทศไทย มี 3 ระลอกด้วยกันคือ

00000ระลอกที่ 1 สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321-2322 เมื่อกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ได้นำกองทัพไทยสองหมื่นคนตีหัวเมืองลาว ตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์เอาไว้ได้ หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์มาก่อนก็นำกำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย แม่ทัพไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ (ญวนเรียก ซือหวี)เมืองมวย ซึ่งเป็นเมืองของชาวภูไทดำได้ทั้งสองเมือง แล้วกวาดต้อนชาวภูไทดำ(ลาวทรงดำ) เป็นจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี นับเป็นชาวภูไทรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

00000ระลอกที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2335 กองทัพเวียงจันทน์ตีหลวงพระบางแตกและจับกษัตริย์หลวงพระบางส่งกรุงเทพ ฯ ใน พ.ศ.2335-2338 กองทัพเวียงจันทน์ได้ตีเมืองแถง และเมืองพวน ซึ่งแข็งข้อต่อเวียงจันทน์ กวาดต้อนชาวภูไทดำ ลาวพวนเป็นเชลยส่งมากรุงเทพ ฯ รัชกาลที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ชาวภูไทดำประมาณ 4,000 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรีเช่นเดียวกับชาวภูไทดำรุ่นแรก

00000ระลอกที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย สาเหตุของการอพยพ คือ เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ใน พ.ศ. 2369 - 2371 และเกิดสงครามระหว่างไทยกับเวียดนามในระหว่างปี พ.ศ.2376-2490 ยุทธวิธีของสงครามสมัยนั้น คือ การตัดกำลังฝ่ายตรงข้ามทั้งฝ่ายไทยและเวียดนามต่างกวาดต้อนประชากรในดินแดนลาวมาไว้ในดินแดนของตนสำหรับประชากรในดินแดนลาวที่ถูกไทยกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยจะมีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกวาดต้อนมาไว้ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทย แถบฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น

00000ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อนมาในระลอกที่ 3 จะแยกเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน สำหรับชาวภูไทในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นพวกที่อพยพเข้ามาในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 8 ดังนี้กลุ่มที่ 3 อพยพมาจากเมืองวัง มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ใน พ.ศ.2513 อำเภอพรรณานิคม มี 7 ตำบล มีชาวภูไททั้ง 7 ตำบล รวม 65หมู่บ้าน 32,037 คน

00000อำเภอเมืองสกลนคร มีภูไท 48 หมู่บ้าน ใน 13 ตำบล จาก 17 ตำบล
00000อำเภอพังโคน มีภูไท 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน
00000อำเภอบ้านม่วง มีภูไท 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน
00000อำเภอวานรนิวาส มีภูไท 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน
00000อำเภอกุสุมาลย์ 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน
00000อำเภอสว่างแดนดิน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน
00000อำเภอกุดบาก 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน
00000อำเภอวาริชภูมิ 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน

รวมทั้งจังหวัดสกลนครมีภูไท 212 หมู่บ้าน 20,945 หลังคาเรือน 128,659 คน)

00000กลุ่มที่ 8 อพยพจากเมืองกะป๋อง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปลาเป้า บ้านนียกเป็นเมืองวาริชภูมิ และตั้งท้าวพระยาสุวรรณเป็นพระสุรินทรบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก ใน พ.ศ. 2410 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 (ใน พ.ศ.2513 มีภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 4 ตำบล ตำบลวาริชภูมิ 1 หมู่บ้าน ตำบลคำบ่อ 12 หมู่บ้าน ตำบลปลาโหล 9 หมู่บ้าน และตำบลเมืองลาด 7 หมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน)ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อน-อพยพมาตั้งภูมิลำเนา ในจังหวัดสกลนคร อย่างเป็นปึกแผ่น ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หัวหน้าแต่ละพวกที่แยกย้ายกันอยู่ ได้ติดต่อปรึกษากับเจ้าเมืองที่ตนอาศัยอยู่เพื่อขอตั้งเมือง เช่น เจ้าเมืองโฮงกลางสี ที่อยู่บ้านพังพร้าว ท้าวแก้ว อยู่ที่บ้านจำปา และท้าวราชนิกุล อยู่บ้านหนองหอย ก็ติดต่อกับเจ้าเมืองสกลนคร เพื่อตั้งหมู่บ้านที่ตนตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นเมือง คือ บ้านพังพร้าว ขอตั้งเป็นเมืองพรรณานิคมบ้านจำปา ขอตั้งเป็นเมืองจำปาชนบท และบ้านหนองหอย ขอตั้งเป็นเมืองวาริชภูมิ เป็นต้นสำหรับชาวภูไททั้ง 8 กลุ่ม ได้ขยายจำนวนออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสานอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา รวมเป็น 9 จังหวัด 33 อำเภอ 494 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้

00000 1.จังหวัดสกลนคร 212 หมู่บ้าน 9 อำเภอ(พรรณานิคม เมืองสกลนครวาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง วานรนิวาส กุสุมาลย์ สว่างแดนดิน กุดบาก)
00000 2. จังหวัดนครพนม 131 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (นาแก เรณูนคร ธาตุพนม ศรีสงคราม เมืองนครพนม)
00000 3. จังหวัดมุกดาหาร 68 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (คำชะอีก เมืองมุกดาหาร นิคมคำสร้อย ดอนตาล หนองสูง)
00000 4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 63 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สมเด็จ สหัสขันธ์)
00000 5. จังหวัดหนองคาย 6 หมู่บ้าน 3 อำเภอ(โซ่พิสัย บึงกาฬ พรเจริญ)
00000 6. จังหวัดอำนาจเจริญ 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (เสนางคนิคม ขานุมาน)
00000 7. จังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (วังสามหมอ ศรีธาตุ)
00000 8. จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ (เลิงนกทา)
00000 9. จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)


(สุวิทย์ ธีรศาศวัต และ ณรงค์ อุปัญญ์, 2538:21-29)


วัฒนธรรมการแต่งกาย

00000 โดยลักษณะทางสังคม ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษ และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอเสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฎเสื้อผ้าชนิดต่างๆ ทั้งฝ้าฝ้าย ผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4 ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่า“ผ้าดำ” หรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทยเสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. 2480 โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

00000 ผ้าห่ม การทอผ้าผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของชาวกลุ่มพื้นอีสานมานานแล้วผ้าห่มใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับไทยลาวที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมามีขนาดเล็ก ทำเป็นผ้าสไบเป็นส่วนแทนประโยชน์ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกปิดร่างกายส่วนบน โดยการห่มทับเสื้อ ผ้าห่มของภูไทที่เรียกว่า ผ้าจ่อง เป็นผ้าทอด้ายยืน มีเครื่องลาย เครื่องพื้นหลายแบบนอกจากนี้ยังมีผ้าแพรวานอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวภูไทยังมีผ้าลาย ซึ่งใช้เป็นผ้ากั้นห้อง หรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลาง 2 ผืน เป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ผ้าลายที่มีชื่อคือผ้าลายบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร การแต่งกายของชาวภูไท ยังนิยมสายสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า (ก้องแขน ก้องขา) ทำด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรงในสมัยโบราณใช้ผ้ามนหรือแพรมน ทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผมอวดลายผ้าด้านหลังใน ปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทนแพรมน

ประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าผู้ไทย

00000 กลุ่มชาติพันธุ์ของชาวผู้ไทยในอดีตเป็นชนชาติไทยสาขาหนึ่ง แต่เดิมอาศัยอยู่ในบริเวณเมืองแถงและเมืองไล ในแคว้นสิบสองจุไทยพื้นที่บริเวณแถบนี้เป็นป่าเขาไม่อุดมสมบูรณ์นัก รวมทั้งยังเป็นดินแดนคาบเกี่ยวอยู่ในการปกครองถึง 3 ฝ่าย คือ จีน หลวงพระบางและญวน เมื่อเกิดสงครามระหว่างจีน ญวน และหลวงพระบาง เกิดขึ้นการยกทัพจะต้องผ่านดินแดนสิบสองจุไทยชาวผู้ไทยก็ต้องพลอยเดือนร้อนเสมอ โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาด ชาวผู้ไทยเป็นกลุ่มชนที่รักความสงบจึงพากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองวัง เมืองคำเกิด และเมืองคำม่วน ในประเทศลาวในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ยกทัพไปตีเมืองล้านช้างก็เคยกวาดต้อนเชลยผู้ไทยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ต่อมาในรัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าเมืองอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์เป็นกบฏ พระองค์ทรงสั่งให้แม่ทัพไปปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ และเมื่อปราบกบฏเสร็จเรียบร้อยแล้ว กองทัพไทยจึงได้กวาดต้อนครอบครัวชาวผู้ไทยที่เมืองวัง เมืองคำเกิด และเมืองคำม่วน ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งไทยเป็นการตัดกำลังของฝ่ายลาว และโปรดให้ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินในท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

00000 ชาวผู้ไทยส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น บรรพบุรุษล้วนแต่ อพยพมาจากเมืองวังทั้งสิ้น แต่เดิมผู้ไทยที่อยู่ในเมืองวังในอดีตนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในเมืองแถง ซึ่งอยู่ตอนใต้ของประเทศจีนในแคว้นสิบสองจุไทยมาก่อน ชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ ผู้ไทยดำ และผู้ไทยขาว ผู้ไทยดำ เป็นผู้ไทยแท้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 8 เมือง คือ เมืองแถง เมืองตุ่ง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโม่ะ เมืองหวัด เมืองชาง และเมืองคาย ลักษณะของชาวผู้ไทยดำเป็นคนผิวขาวกิริยาอาการคล้ายชาวลาวชอบรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก การแต่งกายผู้ชายนุ่งกางเกงขาแคบ ใช้ผ้าด้ายตาเมล็ดงาสีดำ หรือนุ่งผ้าขาวม้าด้ายสีขาว สวมเสื้อด้ายสีดำ เครื่องประดับของชายมีกำไลมือและแหวน ผู้หญิงนุ่งซิ่นใส่เสื้อผ้าสีดำ มีกำไลเงินกับต่างหูเป็นเครื่องประดับประจำตัวอยู่เสมอ ผู้หญิงที่ยังไม่มีสามีจะเกล้ามวยผม เมื่อมีสามีแล้วก็จะเกล้าผมสูง เครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่ใช้สีดำหรือสีเข็มๆ ด้วยลักษณะการแต่งกายนี้เองจึงเรียกชื่อว่า “ ผู้ไทยดำ ” ผู้ไทยขาว ต้นกำเนิดเป็นจีนแช่ฟอ อพยพเข้ามาจากเมืองสินเจา ใกล้เมืองกว้างตุ้ง อพยพมาอยู่กับพวกผู้ไทยที่เมืองไล เมืองเจียน เมืองมุน และเมืองบาง รวม 4 เมือง ต่อมาจีนแช่ฟอได้เป็นเมือง จึงเรียกว่า สิบสองผู้ไทย หรือสิบสองจุไทย นอกจากนี้ยังมีชนชาติอื่นรวมอยู่บ้าง เช่น ข่าเย้า พม่า เป็นต้น ผู้ไทยขาวนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีขาว โดยเฉพาะเมื่อมีการทำศพ จะนุ่งห่มด้วยเครื่องแต่งกายขาวล้วนอยู่จนครบ 3 ปี ด้วยลักษณะการแต่งกายนี้เองจึงเรียกชื่อว่า “ ผู้ไทยขาว ” การอพยพโยกย้ายของชาวผู้ไทย และการตั้งถิ่นฐานในที่ต่างๆ จนได้ให้ขึ้นเป็นชนที่มีเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร เป็นกรมการเมืองปกครองขึ้นกับเมืองใหญ่ในเขต แขวง โดยมีเมืองต่างๆ ที่มีชาวผู้ไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ ดังต่อไปนี้

00000 1. เมืองเรณูนคร ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ. 2373 ชาวผู้ไทยเมืองเรณูนครอพยพมาจากเมืองวัง ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อยู่ติดแดนญวน เมื่ออพยพมาครั้งแรกนั้นพากันตั้งบ้านอยู่ 3 แห่ง คือ ที่บ้านห้วยขัว ( สำเนียงผู้ไทยเรียกโห้ยโหโข อยู่ใต้บ้านท่าคอย ตำบลโพนทองปัจจุบัน ) บ้านบ่อจันทร์ ( อยู่ระหว่างบ้านดงมะเอก ตำบลโพนทอง กับบ้านโคกกลาง ตำบลเรณูนครในปัจจุบัน และบ้านดงหวาย ที่ตั้งเมืองเรณูนครในปัจจุบัน ) เมื่อได้รับยกขึ้นเป็นเมืองเรณูนครโดยมีเจ้าเพชรเจ้าสายเป็นหัวหน้าอำนวยการจัดสร้างเมืองขึ้น จึงได้อพยพราษฎรจากหมู่บ้านทั้ง 3 แห่งเข้ามารวมอยู่ที่บ้านดงหวาย ซึ่งเป็นที่ตั้งเรณูนครในปัจจุบันแล้วจึงให้ท้าวสายเป็น “ พระแก้วโกมล ” เจ้าเมืองคนแรก จัดการปกครองสืบต่อกันมาจนถึงเจ้าไพร เจ้าสิงห์ เจ้าพิมพะสอนและเจ้าเหม็น ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระแก้วโกมล ชื่อเดียวกันเป็นลำดับมา ภายหลังทางราชการได้ลดฐานะลงเป็นอำเภอเรณูนครจนถึงปัจจุบัน

00000 2. เมืองพรรณานิคม ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีท้าวโฮงกลาง เป็นผู้นำในการสร้างเมืองจึงตั้งให้เป็น “ พระเสนณรงค์ ” เจ้าเมืองคนแรกปกครองเมืองพรรณานิคม จัดการปกครองต่อกันมา ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

00000 3. เมืองกุดสินารายณ์ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง โดยมีราชวงศ์ ( กอ ) หรือบางฉบับเรียกว่า ( วอ ) ของเมืองวังอพยพมาด้วยเมื่อได้ยกเมืองกุดสินารายณ์ ขึ้นเป็นเมืองกุดสินารายณ์ จึงโปรดเกล้าฯให้ราชวงศ์ ( กอ ) เมืองวังเป็น “ พระธิเบศวงศา ” เป็นเจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

00000 4. เมืองแล่นช้าง ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 บรรพบุรุษของชาวเมืองแล่นช้าง อพยพมาจากบ้านห้วยนายม แขวงเมืองวังโดยมีหมื่นเดชอุดมเป็นหัวหน้าเมื่อได้จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วได้โปรดเกล้าฯให้หมื่นเดชอุดมเป็น “ พระพิชัยอุดมเดช ” เจ้าเมืองคนแรก ต่อมายุบเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2442 แล้วยุบเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ.2452 ปัจจุบันตำบลภูแล่นช้างขึ้นอยู่กับอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

00000 5. เมืองหนองสูง ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 บรรพบุรุษเป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง โปรดเกล้าฯให้ท้าวสิงห์ หรือท้าวสีหนามเป็น “ พระไกรสรราช ” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอหนองสูง อำเภอคำชะอีบางส่วน และท้องที่อำเภอนาแก รวมกันเข้าเป็นเมืองหนองสูงเดิม

000006. เมืองเสนางคนิคม ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2382 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน ( เซโปน ) โปรดเกล้าฯให้พระศรีสุราช ( ท้าวจันทร์ ) เป็น ( พระศรีสินธุสงคราม ) เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาถูกยุบเป็นอำเภอเสนางคนิคม ในปี พ.ศ.2445 แล้วถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเสนางคนิคม ให้ขึ้นกับอำเภออำนาจเจริญ ในวันที่ 24 เมษายน 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจากกิ่งอำเภอเสนางคนิคมเป็นกิ่งอำเภอหนองทับม้า ปัจจุบันถูกยุบลงเป็นตำบลเสนางคนิคมขึ้นกับอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

000007. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน แต่เดิมเมืองคำเขื่อนแก้ว เรียกว่า บ้านคำเมืองแก้ว โปรดเกล้าฯตั้งให้ท้าวสีหนามเป็น” พระรามณรงค์ ” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งไม่ใช่อำเภอคำเขื่อนแก้วในปัจจุบัน

000008. เมืองวาริชภูมิ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2402 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวพรหมสุวรรณ เป็น “ พระสุรินทรบริรักษ์ ” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

บทบาทของสมาชิกครอบครัว

บทบาทของสมาชิกครอบครัว บทบาทของสมาชิกครอบครัวนั้นจะแยกกล่าวแต่ละบุคคลดังนี้

000001.ผู้ที่เป็นสามี

00000บทบาทต่อครอบครัว มีบทบาทในการเป็นผู้นำครอบครัว ต้องเป็นคนขยันทำมาหากิน “ เฮ่อตืนติ๊กลุกเช้า ” ( ให้ตื่นดึก ลุกเช้า ) “ ตึนมื้อเช้าเฮ้อได้ 9 ทางหยาม ” ( ตื่นเช้าให้ได้9 ทางไปหาอยู่หากิน หาเงินหาทอง ) ไม่เป็นคนละเลย ไม่นิ่งดูดาย “ มีเฮ่อก้มหน้าอยู่ด๋าย หงายตาอยู่เบา ” ( ไม่ให้ก้มหน้าอยู่ดาย หงายตาอยู่เปล่า ) ไปนั่นมานี่ให้รู้จักมองหาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แล้วนำมาใช้ คือ “ ไป๋ด๋งอย่าได้มาเปา ไปเลาอย่าได้มาด๋าย เฮ่อฮักไม้ต๋ายมาแก้งก้นหม้อ ” ( ไปดงอย่ามาเปล่า ไปเหล่าอย่ามาดาย ให้หักไม้ตายมาชำระก้นหม้อ คือ เอามาเป็นฟืน ) ให้เป็นคนมีความเพียร ประกอบสิ่งใดก็ทำให้สำเร็จ คือ “ ค๋ำน้ำมิเฮ่อเอ็ดก้นฟูจกฮูมิเฮ่อเอ็ดมือสั้น”( ดำน้ำอย่าให้ก้นฟู ล้วงรูอย่าทำมือสั้น ) เหล่านี้ล้วนเป็นคำสั่งสอนของผู้เฒ่าผู้แก่ตั้งแต่โบราณนานมา ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่ โดยเฉพาะจะลอนเน้นในตอนผู้จะเป็นเจ้าบ่าวตอนเข้าพิธีแต่งงาน นอกจากนี้ยังต้องดูแลให้ความคุ้มครองแก่ภรรยาและบุตร คือ ปฏิบัติตนเป็นสามีที่ดีภรรยา เป็นพ่อที่ดีแก่บุตร ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ให้สมกับเป็นช้างเท้าหลัง

00000บทบาทต่อบุพการี ต้องให้ความเคารพ ให้การดูแลเอาใจใส่ให้การเลี้ยงดูพ่อแม่ของตนเองสมเองกับเป็นลูกที่ดี พ่อแม่ของภรรยา คือ พ่อตาและแม่ยาย ยิ่งให้ความยำเกรงเป็นพิเศษในอดีตถึงขั้นเอาผีเรือนมาว่าเลย ถ้าเขยทำไม่ดีไม่งามจะผิดผีเรือน ต้อง “ เม๋อ ” ( ปรับไหม ) กันละ สิ่งที่เขยทำแล้วผิดนั้นเป็นการกระทำต่อฝ่ายพ่อตา หรือกระทำที่บ้านพ่อตา เช่น ห้ามกระทำดังนี้บ้านพ่อตา ลับพร้าใส่หมวก ขัดมีดขัดฝักพร้า ร้องรำทำพลง ดีดสีตีเป่า เดินเตะเตี่ยวลอยชาย ( นุ่งผ้าขาวม้าไม่เหน็บชาย ) ใส่รองเท้าย่ำบนบ้าน แต่มีข้อเว้นคือ ตอนบ้านพ่อตามีงานจะเป็นงานศพหรืองานแต่ง การกระทำของลูกเขยต่อฝ่ายพ่อตาที่เป็นความผิด ได้แก่ จับมือถือแขนน้องสาวภรรยา ละลาบละล้วง กระด้างกระเดื่องต่อฝ่ายพ่อตา มีคำสอนอยู่ว่า “ เซ้อพ้อแม้ลุงต๋า โต๋ท้อก้อย น้อยท้อทู เฮ่อเคารพย๋ำแหยง ” ( เชื้อสายทางพ่อตาตัวเท่านิ้วก้อย น้อยเท่าไม้ตะเกียบ ให้เคารพยำเกรง ) ในปัจจุบันนี้ที่กล่าวมาทั้งหมดก็ยังถืออยู่ เพียงแต่ไม่ค่อยจะอ้างผี ( ข้อห้ามเหล่านี้ที่จริงก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมทั้งนั้น )

00000 2.บทบาทของภรรยา

00000บทบาทของภรรยาต่อครอบครัว ในครอบครัวผู้ไทยในอดีตผู้เป็นภรรยามีบทบาทไม่น้อยกว่าสามีเท่าไรถึงแม้จะเป็นผู้ “ อยู่กับเหย้า เฝ้ากับเฮิน ” ( อยู่กับเหย้า เฝ้ากับเรือน )แต่รับภาระหน้าที่อันหนักอึ้ง เช่น เลี้ยงลูก หุงหาอาหาร ตักน้ำตำข้าว “ น้ำมิเฮ่อฮาดแอง แกงมิเฮ่อฮาดหม้อ ” ( น้ำไม่ให้ขาดแอ่ง แกงมิให้ขาดหม้อ ) ซักเสื้อผ้า เก็บกวาดเหย้าเรือน จัดหาเครื่องนุ่งห่ม ตั้งแต่ อิ้วฝ้าย ปั่นฝ้าย ทอผ้า ตัดเย็บ ( ด้วยมือ ) จนสำเร็จเป็นเครื่องนุ่งห่มได้ ยังไปช่วยงานสามีนอกบ้านด้วย เช่น ถอนกล้า ดำนา เกี่ยวข้าว ฟาดข้าว งานไร่งานสวน ทั้งยังต้องปรนนิบัติพ่อปู่แม่ย่าอีก ( ดูเหมือนจะเป็นผู้รับภาระหนักกว่าสามีอีก ) ในปัจจุบันนี้ก็ยังเหมือนเดิม แต่มีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือ ภรรยาบางคนก็ออกไปทำงานนอกบ้านเทียบเท่าสามี เช่น รับจ้างหาเงิน โดยฝากการเลี้ยงดูลูกให้กับปู่ ย่า ตา ยาย สาเหตุการเปลี่ยแปลงก็เนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจรัดตัวถ้าปล่อยแต่สามีหาเลี้ยงครอบครัวก็คงจะลำบาก

00000บทบาทต่อชุมชน ในอดีตภรรยาไม่ค่อยจะมีบทบาทต่อชุมชน เพราะได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้หน้าที่แม่บ้าน ให้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ถ้าขลุกแต่ในบ้านก็จะไม่ทันสมัย หูไม่กว้าง ตาไม่ไกล บางครั้งก็เสียผลประโยชน์ต่อครอบครัวด้วย เช่น การเป็นกลุ่มสมาชิกกลุ่มแม่บ้านต่างๆ การเข้าร่วมพัฒนาหมู่บ้าน การเข้ารับการอบรมความรู้ด้านต่างๆ เป็นต้น

00000บทบาทต่อบุตร ภรรยาจะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกมากกว่าสามี เพราะเป็นผู้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการอบรมสั่งสอนลูกจะเป็นหน้าที่ของภรรยามากกว่า

00000บทบาทต่อญาติพี่น้อง บุพการี ให้ความอุปการะญาติพี่น้องทั้งฝ่ายตนและฝ่ายสามีเหมือนครอบครัวทั่วๆไป

00000การอบรมเลี้ยงดู การให้การเลี้ยงดูลูกของชาวผู้ไทยนั้น ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก คือ ในอดีตเป็นเรื่องของพ่อแม่ที่รับผิดชอบ แต่ผู้ที่รับภาระหนักที่สุดก็คือ แม่ การหาพี่เลี้ยงยังไม่มี ถ้าจำเป็นทั้งพ่อทั้งแม่มีภาระหนัก เช่น ต้องออกดำนาก็ให้ปู่ ย่า ตายาย หรือน้องสาว หรือลูกหลานที่โตพอที่จะดูแลเด็กได้แล้วเป็นผู้เลี้ยงดู แต่เป็นการชั่วคราว อาหารการกินสำหรับลูกนั้น แยกกล่าวเป็นระยะดังนี้ ( ไม่กล่าวถึงนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารหลักออยู่แล้ว )
00000- ทารกอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ถึง 8 เดือน ให้กินข้าวหมก ข้าวหมกนี้มาจากข้าวเหนียวแม่จะเอามาเคี้ยวจนละเอียดแล้วคายใส่ใบตองไม้เป้า ( เป็นใบเรียบยาวกว้างหาได้ง่ายใกล้บ้าน )1 มื้ออาจเคี้ยว 5- 6 คำใหญ่ แล้วห่อแบบห่อหมก เอาไม้ปี้งหนีบแล้วไปย่างไฟจนสุก กลิ่นรถหอมหวานอร่อยมาก
00000- อายุประมาณ 9 เดือน ถึง 1 ปีครึ่งให้กินข้าวย่ำ ย่ำ ( เสียงนาสิก ) เป็นภาษาอีสานคือเคี้ยว การป้อนข้าวย่ำคือการที่แม่หรือพ่อเอาข้าวมาย่ำพร้อมกับกับคือเนื้อปลา ไก่ เป็นต้น ให้ละเอียดเข้ากันแล้วคายออกให้ลูกกิน ดังนั้นเมื่อลูกไม่อยู่ในโอวาทพ่อแม่มักจะดุด่าลูกว่า “ เสแฮงกูย่ำข้าวป้อนเห้าปากกู๋แซบแต๊ะ ยังได้คายเฮ่อกิ๋น...” ( เสียแรงกูเคียวข้าวป้อน เข้าปากกูแสนที่จะอร่อย ก็ยังคายให้กิน )
00000- อายุประมาณ 2 ปี ก็ให้อดนม
00000- อายุประมาณ 3 ปี ก็กินเองได้อย่างพ่อแม่เพียงแต่ลดรสเผ็ด

00000 เรื่องหลักโภชนาการไม่ต้องพูดถึง ได้อะไรก็กินไปตามมีตามเกิด ถ้าไม่มีบางครั้งพ่อแม่และลูกก็กิน ” ข้าวเนงเก๋อ ”( ข้าวคลุกเกลือ )หรือ “ ข้าวจี่ ”ดังนั้นเด็กสมัย เมื่อ 40 ก่อนนั้นจึงไม่ค่อยจะสมบูรณ์ ผู้ที่อยู่รออดได้ก็นับว่าแข็งแรงมาก มีเด็กจำนวนมากที่มีลักษณะร่างเล็ก พุงโร หัวโต ก้นลีบ เนื่องจากขาดสารอาหาร ประกอบกับโรคภัยไข้เจ็บก็มีมาก อัตราการตายของเด็กสูง เพราะสาเหตุดังกล่าว และยังไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ “ไอกรน บาดทะยัก วัณโรค คางทูม หัดเยอรมัน ต่างจากทุกวันนี้มาก การศึกษาเจริญขึ้น ทางการให้ความรู้เรื่องโภชนาการ พ่อแม่ก็เลี้ยงลูกอย่างถูกต้องตามหลักอนามัย ทำให้บรรดาลูกๆทั้งหลายจึงอ้วนท้วนสมบูรณ์แข็งแรง อีกประการหนึ่ง สมัยก่อนพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ค่อยสมบูรณ์ เนื่องจากมีลูกมากปล่อยให้มีลูกตามธรรมชาติจนบางครอบครัวมีลูกถึงโหล ในปัจจุบันนี้มีการคลุมกำเนิดแต่ละครอบครัวมีลูก 2-3 คน ทำให้การเลี้ยงดูลูกได้ดีและอุดมสมบูรณ์ และยังรู้จักให้อาหารเสริมอีกด้วย

00000ในอดีตบทบาทของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ในการอบรมลูกหลานนี้ การอบรมไม่มีรูปแบบ การอบรมที่เแน่นอน กิจลักษณะคือไม่ได้เรียนมานั่งล้อมแล้วสอนเนื้อหาแต่จะอบรมสั่งสอนตามสถานการณ์ บางครั้งก็เอาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาสั่งมาสอน ยกเอาบุคคลอื่นมาอ้างหรือบางครั้งก็ยกเอานิทาน บางครั้งก็เปรยคำสุภาษิตโบราณขึ้นมาสั่งสอน บางครั้งก็ให้ไปสัมผัสสถานการณ์จริงที่อบรมสั่งสอนที่ใช้บ่อยที่สุดคือ ที่ พาข้าว เพราะตอนนั้นบรรดาลูกๆจะพร้อมกันที่นั้นการอบรมสั่งสอนนั้นแยกกล่าวดังนี้

00000ด้านศีลธรรมจรรยา ไม่ว่าลูกหญิงลูกชายจะได้รับการอบรมเหมือนกันหมด ( ต่างแต่ว่าใครจะฟังไม่ฟังเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ) คือ ให้มีสัมมาคารวะทุกอริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ให้สำรวม

00000ยืน ต้องดูกาลเทศะ ใกล้ผู้หลักผู้ใหญ่ห้ามยืนใกล้ ( มิเห้อยืนโท่มเก้าโท้ม “โห” ) ไม่ให้ยืนท่วมเกล้าท่วมหัว พูดกับผู้ใหญ่ถ้าผู้ใหญ่นั่งต้องนั่งพูดต้องนั่งพูดด้วย สำหรับหญิงจะเน้นพิเศษไปอีก คือ “ อย่ายื๋นเค่อปอง ” ( อย่ายืนใกล้ช่องกระดาน ( พื้นเรือน )) คงจะกลัวผู้ชายแอบเข้าไปส่องที่ใต้ถุน ไม่ให้ยืนกลางแดด ( ตอนเช้า หรือบ่าย ) มีคำสอนว่า “ ขี้ค้านอย่าเอ็ดนาฮิมทาง นุ้งซีนบ๋างอย่ายื๋นก๋างแดด” ( ขี้คร้านอย่าทำนาริมทาง นุ่งซิ่นบางอย่างยืนกลางแดด) เพราะถ้าแสงแดดเข้าทางหน้าหรือทางหลัง คนผู้ทางตรงข้ามจะมองเห็นเงาขาในผ้าถุง ในสมัยก่อนเรื่องจะเห็นขาขาวของหญิงสาวผู้ไทยยากมาก แค่เงาขาก็ยังปิดมิดเม้นยืนถ่างก็ยังถูกดุ
00000เดิน ไม่ให้เดินท้าวหนัก “ อย่างย้างสะลื๋งตึ๋งตั๋ง ” ( อย่าเดินแบบม้าดีดกะโหลก ) เดินผ่านหน้าผู้ใหญ่ต้องก้มตัวลง ถ้าอยู่ใกล้ให้เดินเข่าหรือคลาน “ ย้างก๋ายหน้าก๋ายต๋าผู้ใหญ่ พอก้มเห้อก้ม พอคานเห้อคาน ” ( เดินผ่านหน้าผ่านตาผู้ใหญ่ พอก้มให้ก้ม พอคลานให้คลาน )
00000นั่ง ชายให้นั่งขัดสมาธิ หญิงให้ “ นั่งตะมอบ ” ( นั่งพับเพียบ ) ถ้านั่งกินข้าว ( กับพื้น ) เป็นเด็กไม่ว่าหญิงหรือชายให้นั่งพับเพียบหมด
00000นอน หญิงจะห้ามนอนในที่เปิดเผย ถ้านอนที่เปิดเผยให้ระมัดระวังให้นอนตะแคง ผ้าถุงเหน็บหว่างขา ห้ามนอนหงาย ห้ามนอนใกล้ “ ป่อง ” ( ช่องพื้นกระดานพื้นเรือนหรือช่องข้างฝา ) กลัวจะถูกชาย “ จก ” ( ล้วง ) สำหรับผู้ชายไม่ค่อยมีการห้ามเรื่องการนอน จะนอนอิริยาบถไหนก็ได้ แต่ไม่ว่าหญิงหรือชายจะมีสถานที่ห้ามนอน คือ ใต้ขื่อบ้าน เพราะขื่อบ้านเป็นสิ่งที่วางศพ แม้แต่พาข้าวก็ห้ามวางใต้ขื่อ และอีกอย่างหนึ่งที่ห้าม คือ ห้ามนอนเอามือทับหน้าอก เพราะผีจะอำ (ผีทับ) พ่อแม่ถ้าเห็นลูกนอนหลับเอามือทับหน้าอกก็จะเอาลงให้ทันที ทุกวันนี้อิริยาบถที่กล่าวมานี้เปลี่ยนแปลงไปมาก เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงประมาณ 20-30 ปีมานี้เอง เหตุของการเปลี่ยนแปลงเพราะอารยธรรมตะวันตกเข้ามา โดยผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ อย่างเช่น เห็นนางแบบเดินหรือยืนขากาง เหล่านี้เป็นต้น ก็พากันเอาอย่างยิ่งเอาอย่างนักร้องสตริงทุกวันนี้ก็ยิ่งมองดูแล้วรู้สึกหยาบกระด้างทั้งหญิงทั้งชาย ผู้หญิงขาดความละเมียดละไม ขาดความอ่อนโยน สมบัติกุลสตรีไทยกำลังจะหายไปจากประเทศไทย หญิงสาวบางคนนั่งพับเพียบไม่เป็นเลยก็มี น่าเป็นห่วงมาก

00000รื่องการพูดนั้น ชาวผู้ไทยเมื่อ 40 ปีย้อนลงไปยังอดีต สรรพนามบุรุษที่หนึ่งจะใช้คำว่า “ กู” บุรุษที่สองใช้คำว่า “มึง ” ลูกพูดกับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ก็ใช้คำนี้ คำว่า “ ข้อย ” และ “ เจ้า ” เป็นคำพูดที่สุภาพมากและจะใช้อยู่ระหว่างบ่าวสาว คู่ผัวเมีย ลูกเขยกับพ่อตาแม่ยายและญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยา ลูกสะใภ้กับพ่อปู่แม่ย่าและญาติผู้ใหญ่ฝ่ายสามี จาก 40 ปีมาถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลง เพราะการศึกษาเจริญขึ้น คำว่า “ กู ”“ มึง ” ที่เด็กใช้กับพ่อแม่ไม่ได้ยินอีกแล้ว

การอบรมสั่งสอน,การหาอยู่หากิน

การอบรมสั่งสอนเรื่องการหาอยู่หากิน ในอดีตนั้นจะมีการอบรมสั่งสอนโดยประสบการณ์ตรง คือ ให้ลงมือปฏิบัติ แล้วพ่อแม่หรือปู่ย่าอยู่ข้างๆคอยบอก ซึ่งเป็นการสั่งสอนโดยตรงและบางทีก็อาจให้ช่วยงานซึ่งเป็นการสั่งสอนโดยอ้อม เช่น พาไปตัดไม่ไผ่มาจักสาน ทำให้ลูกรู้ชนิดของไม้ที่เหมาะแก่การจักสานภาชนะต่างๆ ไม้ไผ่ ไม้ไร่ยอดด้วนจะไม่ใช้จักสาน เพราะผุง่ายและมอดชอบ ลูกสาวก็อาจใช้ช่วยทอหูก ช่วยจับนั่นจับนี่ พาไปหากิน ทำให้ลูกมีประสบการณ์มากขึ้น แต่ก็มีลูกบางคนที่ไม่ต้องเรียกมาสอน แต่มีความทะยานอยากจะทำเองเห็นพ่อเห็นแม่ทำงานค้างไว้ พ่อแม่ไม่อยู่ก็ไปทำต่อ พ่อแม่เห็นแววก็จับมาสอนโดยตรงหรือบางที่ก็อาจไปถามคนอื่นที่เขาเป็น
ในอดีตเป็นความจริงอย่างหนึ่งว่า ผู้ชายที่ทำอะไรเป็นหลายอย่างตั้งแต่เป็นหนุ่ม เช่น ถางไม้ สร้างบ้าน ไถนา สร้างแอก จักสาน ชายผู้ไทยที่สามารถทำอยู่ทำกินเป็นตั้งแต่เป็นหนุ่มโสด จะเป็นที่หมายปองของผู้ที่มีลูกสาว แม้กระทั่งผู้ใหญ่ชมความสามารถก็มักจะทำนองว่า “ โอ้...เอ็ดเวะเป๋นพอเอาลุเอาเมแล้ว” ( โอ้...ทำงานเป็นพอเอาลูกเอาเมียแล้ว ) ที่จริงก็เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อแต่งงานไปก็สร้างเนื้อสร้างตัวได้ไว เป็นที่พึ่งพาอาศัยของพ่อตาแม่ยายและญาติๆทั้งหลายฝ่าย ในตอนใกล้จะแต่งงานเป็นอีกช่วงหนึ่งที่บรรดาลูกๆ จะได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักการครองเรือนเป็นพ่อบ้านแม่บ้าน ในวันแต่งงานผู้ชายจะได้รับการอบรมก่อนจะเข้าพาขวัญ คือ ฝ่ายลุงตา ( ญาติฝ่ายเจ้าสาว ) จะ “ เฆี่ยน ” คือ กล่าวสั่งสอนในทุกๆด้านให้เป็นพ่อเรือนที่ดีมีความขยันมานะพยายามในการสร้างครอบครัว เป็นต้น
ในปัจจุบันการอบรมสั่งสอนได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะการศึกษาเจริญมากขึ้นลูกหลานทั้งหลายเอาแต่มุ่งมั่นในการศึกษาเพื่อจะเปลี่ยนอาชีพจากอาชีพของบิดาให้เป็นอาชีพอื่นที่ดีขึ้น การอบรมสั่งสอนจะเป็นหน้าที่ของครูในโรงเรียน ไม่ว่าทางศีลธรรมจรรยา การทำมาหากิน มีหลักสูตรในสถานศึกษารองรับแล้ว พ่อแม่มีหน้าที่หาเงินเพื่อส่งลูกเรียน แต่ทั้งนี้ไม่ว่าพ่อแม่จะละเลยไม่อบรมสั่งสอนเสียเลย มีโอกาสก็สั่งสอนบ้าง แต่ไม่บ่อยเหมือนสมัยอดีตเพราะลูกไม่ค่อยได้อยู่กับพ่อแม่ ดังนั้นการให้การอบรมสั่งสอนลูกหลานจึงเป็นหน้าที่ของทั้งพ่อและแม่ พร้อมทั้งปู่ย่า ตายาย จะแยกกล่าวดังนี้
การอบรมลูกชาย ในอดีตอบรมให้รู้จักหน้าที่พ่อเรือน ให้รู้จักการหาความรู้เกี่ยวกับการครองชีพครองเรือน ตลอดจนอบรมจรรยามารยาทด้วย เช่น สอนให้รู้การจักสาน การจัดหาจัดทำเครื่องมือการเกษตรเช่น ทำแอก ทำไถ สอนให้ขยันทำมาหากิน ซึ่งได้กล่าวแล้วในบทบาทของสมาชิกในครอบครัว
ในปัจจุบันก็ยังอบรมเช่นกันกับในอดีต เพียงแต่ว่าแนวทางด้านความรู้เพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงตัวนั้นเปลี่ยนแปลงไป และสถานที่หาความรู้นั้นเปลี่ยนจากหาความรู้ในครอบครัวเป็นหาความรู้จากสถาบันต่างๆมากมาย
การอบรมลูกสาว ในสมัย 40 ปีที่ผ่านมาการอบรมลูกสาวในเบื้องแรกนั้นเป็นการอบรมให้รู้จักรักนวลสงวนตัว หญิงสาวจะไม่ยอมให้ผู้ชายจับมือถือแขนได้แม้กระทั่งผ่านเข้าใกล้ก็ต้องระวังตัว เคยมีบ่อยๆที่มีการปรับไหมกันเมื่อผู้ชายแกล้งถูกเนื้อต้องตัวหญิงหล่อนจะได้รับการสั่งสอนว่า “ ไคมิแต๊ะเซอมือ อย่าเฮ่อชายมาจับมาต้อง ” ( ไข่ไม่แตกใส่มือ ยังไม่แต่งงาน อย่าให้ชายแตะต้อง) ถ้าชายขืนแตะต้องโดยเจตนาจะต้อง “ ทึแหนเสไก ทึบ่าไลเสหมู ทึทังเน้อทั้งโต๋เสแม้โงโต๋ควาย ” ( ถูกแขนเสียไก่ ถูกบ่าไหล่เสียหมู ถูกทั้งเนื้อทั้งตัวเสียแม่วัวตัวควาย ) อันดับต่อมาก็สอนให้รู้จักหน้าที่แม่บ้าน ให้รู้จักเก็บกวาดบ้านเรือน “ เบิงลุ้มเบิงเท็ง ” ( ดูลุ่มดูบน ) ให้รู้จักเรือนสามน้ำสี่ ( เรือนสาม ได้แก่ เรือนนอน เรือนครัว และเรือนผม) น้ำสี่ ได้แก่ น้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำปูน ( สมัยนั้นผู้หญิงกินหมาก) และน้ำคำ นอกจากนี้ยังสอนการอิ้วฝ้าย ดีดฝ้าย ทอผ้า คือ ให้รู้จักการตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม เช่น ทอหมอนขวิด ( ผู้ไทยว่า “ เก็บหมอน ”) เย็บหมอน ทำผ้าห่ม ทำฟูกที่นอน ทอผ้าขาวม้า เรื่องการทำหมอน ผ้าห่ม ที่นอน ( ผู้ไทยเรียก สานะ ) ผ้าขาวม้าชายผู้ไทยจะเน้นมาก พ้นหน้านาไม่ว่าผู้สาวหรือผู้เฒ่าก็จะพากันทำในสิ่งเหล่านี้ หญิงสาวใดแต่งงานถ้ามีสิ่งเหล่านี้น้อยจะถูกกล่าวขวัญนินทามาก เพราะแสดงถึงความขี้เกียจ หญิงสาวบางคนก่อนแต่งงานจะมีไว้แล้วอย่างละประมาณ 50-60 ผืน ที่ขี้เกียจหน่อยก็มีอย่างละประมาณ 15-20 ผืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นของ “ สมมา ” ในวันแต่งงานที่เหลือก็จะเอาไปใช้ในครอบครัวใหม่ของตน แล้วก็เริ่มสร้างเพิ่มเติมอีก
ในสมัยปัจจุบันในเรื่องการรักนวลสงวนตัวเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามา หญิงสาวชายหนุ่มจะไปไหนมาไหน 2 ต่อ 2 จะจับมือถือแขนกันก็ไม่ค่อยจะถือกันแล้ว ดังที่เห็นๆกันอยู่ ส่วนการสร้างเครื่องนุ่งห่ม 4 อย่างที่กล่าวมานั้นมีเปลี่ยนแปลงไปตรงที่ว่า แม่เป็นผู้สร้างไว้ให้หรือซื้อเอา เพราะลูกสาวมีภาระในเรื่องการเรียนหนังสือหรือไปทำงานต่างถิ่น เดี๋ยวนี้หญิงสาวที่ปั่นฝ้ายเป็น ทอผ้าเป็น หายากแล้ว และนับวันจะลดลงไปเรื่อยๆ

ขอบคุณ อ.ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง

http://revival.snru.ac.th/race/6.htm
ซึ่งเป็นที่มาของข้อมูลชาวภูไทย

ยารักษาโรค ชาวภูไท

ยารักษาโรค ในอดีตการแพทย์การสาธารณสุขยังไม่เจริญ ยังไม่กว้างขวาง ชาวผู้ไทยเมื่อเจ็บป่วยก็ทำการรักษาเยียวยากันตามมีตามเกิด ตามความเชื่อ หรือตามความรู้ทางด้านสมุนไพร การรักษาด้วยสมุนไพรนี้อาศัยความรู้และประสบการณ์ของบรรพบุรุษสืบทอดต่อๆกันมา บางคนมีความรู้มากในด้านสมุนไพรรักษาโรค จนสามารถประกอบอาชีพรักษาโรคด้วยสมุนไพรได้ ผู้ไทยเรียกว่า “ หมอฮะไม้ ” ( หมอรากไม้ ) และยังมีหมอเฉพาะโรคด้วย เช่น หมอกระดู หมอหมากไม้ ( รักษาผู้ที่ไข้หมากไม้ ) เป็นต้น
วัสดุและแหล่งที่มา วัสดุก็เป็นพืชต่างๆและบางอย่างก็ได้จากสัตว์ ซึ่งหาได้จากป่าและ ภูเขาใกล้บ้านนั่นเอง
การใช้ ตัวยาสมุนไพรที่ได้จากพืชมีการใช้ไม่เหมือนกัน บางชนิดใช้ราก บางชนิดใช้ลำต้น บางชนิดใช้ทั้งราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และวิธีใช้ก็มีทั้งต้ม แช่น้ำ ฝน อาบ ดื่ม ทา แล้วแต่โรคและแล้วแต่สมุนไพร
ความเชื่อเรื่องยารักษาโรค หมอรักษาโรคในอดีตนั้นยังมีความเชื่อในเรื่องของกระบวนการรักษาหรือฮีตคลองอยู่ ถ้าผิดฮีตแล้วจะรักษาไม่หาย แต่หมอจะพูดว่า “ ผิดครู ผิดคาย ” คำว่า “ คาย หรือค่ายกครู ” ซึ่งจะขอแยกกล่าวกระบวนการดังนี้
1. การไปหาหมอต้องมีดอกไม้เทียนคู่ คือ ดอกไม้ 1 คู่ เทียน 1 คู่ ไปหาอย่างกิจลักษณะจนถึงบ้าน ยกเว้นจำเป็นจริงๆพบกันที่กลางบ้านก็พากันที่กลางบ้านเลยก็ได้ แต่ต้องมีดอกไม้เทียนคู่ดังกล่าว
2. ฝ่ายผู้ป่วยต้องแต่งคาย จำนวนเงินใส่ในคายตามที่หมอบอก เงินใส่คายนี้จะเกิดที่ครูบอกไม่ได้ เช่น 6 สลึก 12 บาท เป็นต้น ส่วนค่าป่วยการของหมอนั้นแล้วแต่ฝ่ายผู้ป่วยจะให้ ค่าป่วยการผู้ไทยเรียกว่า “ ค้าเซิงติ๋น ” ( ค่าเชิงตีน ) และหมอรากไม้ทุกคนมักจะมีมนต์ในการรักษาด้วย
3. รื้อคาย จะรื้ออยู่ 3 กรณี คือ คนไข้หาย คนไข้ไม่หาย คนไข้ตายก็รื้อได้
4. เครื่องยาบางอย่างมีข้อ “ คะลำ ” อยู่ตั้งแต่การไปหา การใช้ เช่น น้ำมันงา ห้ามหญิงแตะต้อง การคั้นน้ำมันงาต้องให้ผู้ชายหา เมื่อนำไปใช้ก็ต้องเก็บไว้ให้ดีไม่ให้ผู้หญิงไปถูกต้องหมอเช่นนั้นแล้วมันจะไม่ขลัง
ในปัจจุบันนี้ผู้ที่เป็นหมอรากไม้หายากแล้ว เนื่องจากการสาธารณสุขและโรงพยาบาลได้แผ่กว้างออกไปถึงชนบท ผู้ป่วยเป็นไข้จะไปโรงพยาบาล จะมีก็เพียงผู้ที่รู้เกี่ยวกับสมุนไพรรากไม้บางอย่าง และหาต้มดื่มเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเท่านั้น
หมอเป่า หมอทรง หมอธรรม ในกลุ่มชาวผู้ไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันยังไม่ปรากฏมีผู้มีอาชีพแพทย์แผนโบราณโดยเฉพาะ มีเพียงผู้มีความรู้เรื่องสมุนไพร รากไม้ รากยา พอช่วยเยียวยาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยแล้วได้ค่าตอบแทนเล็กๆน้อยๆพอเป็นสินน้ำใจ ถ้าทางฝ่ายคนไข้ไม่มีเงินก็รักษาฟรีเอาพี่เอาน้องไว้
ในอดีตยังมีหมออีกประเภทหนึ่งที่รักษาคนไข้ด้วยการใช้คาถาเป่า ( เรียกว่า หมอเป่า ) คนป่วยเป็นไข้ ตกต้นไม้ ควายชน แข้งหักขาบวมช้ำ หมอก็ใช้คาถาเป่าได้ ( ส่วนจะหายจริงเพราะคาถาเป่าหรือไม่นั้นไม่ขอยืนยัน ) ซึ่งชาวบ้านในอดีตมักจะไปหามหมอมาเป่า ในเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยในสมัยอดีตมักจะโยนให้ผี ที่ถูกใส่ความบ่อยที่สุด คือ ผีปอบ และผีป่า
ผีปอบ คือ คนที่เรียนคาถาประเภทเดรัจฉานวิชา และ “ คะลำ ” ถือปฏิบัติตามที่ครูบอกไม่ได้ เมื่อเป็นปอบแล้วจะมีวิญญาณลึกลับอยู่ในตัวคนนั้น และเป็นวิญญาณร้ายที่ออกหากินคน ผู้ที่ถูกกินจะป่วยลง เมื่อหาหมอเป่าคนป่วยก็จะเพ้อออกมาว่าเป็นผู้นั้นมาเข้า การที่คนป่วยเพ้อออกมาผู้ไทยเรียกว่า “ เอาะป้ะ ” ( ออกปาก ) หมอเป่าก็จะใช้คาถาเป่าคุมจนปอบยอมออกจากร่าง เมื่อปอบออกจากร่างแล้วคนไข้ลุกขึ้นนั่งเดินได้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นป่วยนอนซมอยู่ไปไหนมาไหนไม่ได้
ผีป่า เป็นผีที่สิงสถิตอยู่ในป่า ต้นไม้ใหญ่ ถ้าคนไปทำผิด เช่น ไปตัดไม้หรือไปกวนบ่อน้ำในแหล่งน้ำซับกลางป่า หรือของป่าบางอย่าง หรือไป “ ปากเสียงก้องร้องเสียงดัง ” ผีป่าก็จะเข้าทับร่างทำให้เป็นไข้ได้ป่วย หรือบางทีเห็นหญิงสาวสวยผีป่ารักก็เข้ามาทับร่างได้เหมือนกัน อาการป่วยก็เหมือนผีปอบ แต่พอเป่าคนไข้เพ้อไปทางป่าว่าอยู่ที่นั่นต้นไม้นั่น หนองน้ำนี่ “ พวกสูไปรื้อบ้านกู ” ( ตัดต้นไม้ ) เป็นต้น หมอก็จะคุมจนออกเช่นกัน
หมอทรง เป็นหมอที่ทำพิธีอัญเชิญวิญญาณต่างๆตามที่ผู้มาหาบอก เพื่อให้เข้าร่างหมอทรงแล้วจะได้บอกกล่าวเรื่องราวระหว่างวิญญาณกับผู้มาหาหมอ
หมอธรรม เป็นหมอที่นั่งทรงทางในเพื่อดูดวงชะตา หรือสิ่งที่มากระทำต่อคนใดคนหนึ่งที่มาหาหมอ หรือไล่เลขไล่ยาม ผู้ไทยเรียกว่า “ นั่งธรรม ” หมอธรรมจะเป็นสื่อระหว่างวิญญาณกับคน คล้ายหมอทรง แต่ไม่มีพิธีสลับซับซ้อนเท่าหมอทรง
การเหยา เป็นพิธีกรรมในการรักษาคนป่วยตามความเชื่อของคนอีสาน ไม่เฉพาะแต่เผ่าผู้ไทย ชาวอีสานเชื่อว่าคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็เนื่องมาจากถูกผีกระทำ อาจจะเป็น ผีดง ผีป่า ผีแถน ผีปอบ ผีเป้า ผีบรรพบุรุษ ( อีสานว่า ผีเชื้อ ) หรือถูกคุณไสย ผู้ที่เก่งกล้าสามารถในการขจัดปักเป่าความเจ็บความไข้ออกไปได้ คือ หมอเหยา และหมอเป่า
หมอเหยากับหมอเป่านี้ต่างกัน คือ หมอเป่าจะใช้คาถาเป่าขับไล่ผีให้ออกเลย แต่หมอเหยาใช้ไม้นวม คือ พูดจาหว่านล้อมด้วยถ้อยคำอ่อนหวานและเป็นทำนองเหยา ( คล้ายลำ )

เครื่องนุ่งห่ม ชาวภูไท

เครื่องนุ่งห่ม ถ้ามองย้อนอดีตให้ยาวนานออกไป จะเห็นว่าชาวผู้ไทยเป็นเผ่าที่ทำเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่ม คือ ผ้าห่ม จนเหลือใช้ ( แม้กระทั่งในปัจจุบันชาวผู้ไทยก็ยังทำผ้าห่มไว้มาก แขกมาเยี่ยมมาพักมีให้ห่มอย่างพอเพียง ) ส่วนเสื้อผ้าก็พอมีใช้ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ไม่ขัดสนและสิ่งเหล่านี้ล้วนทำได้เองด้วยฝีมือความสามารถของตนเอง ซึ่งบางอย่างสวยงามมีศิลปะ
แหล่งที่มา ในอดีตนั้นหามาเองโดยการปลูกขึ้นบ้าง เอาจากที่มีอยู่ตามธรรมชาติบ้าง โดยเริ่มตั้งแต่สภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ผ่านกระบวนการต่างๆจนเป็นเครื่องนุ่งห่มล้วนหามาเอง ทำขึ้นเองทั้งสิ้นเช่น ฝ้าย เริ่มตั้งแต่การปลูก จนถึงขั้นทอเป็นผ้า ล้วนแต่ทำเอง ในปัจจุบันนี้มีโรงงานที่ทันสมัยที่ผลิตวัสดุที่จะทำเครื่องนุ่งห่มแล้ว ราคาไม่แพง สี ลวดลาย แบบ มีให้เลือกมากมายและหาซื้อได้ง่าย ทั้งในตลาดนัดในหมู่บ้านและในตลาด ทำให้การปั่นฝ้าย ( ผู้ไทยเรียกว่า “ เข็นฝ้าย ”) ของชาวผู้ไทยเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยจะมีแล้ว
วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องนุ่งห่ม วัสดุที่ใช้ทอผ้าก็มีฝ้ายเป็นหลักและไหม สีย้อมผ้าก็เป็นที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีแดงได้จากครั่ง ผลสะดี สีดำจากต้นคราม ผลมะเกลือ สีเหลืองได้จากแก่นขนุน เป็นต้นสีที่ชาวผู้ไทยชอบใช้มากที่สุด คือ สีดำที่ได้จากต้นคราม
การใช้ผ้า การใช้ผ้าของชาวผู้ไทยในอดีตนั้น ผ้าบางชนิดก็มีกาลเทศะในการใช้ เช่น “ ผ้าจ่อง ” เป็นผ้าที่ทออย่างดี สีย้อมด้วยครั่ง จะใช้คลุมหีบศพ ( ผู้มั่งมี ) ผ้าสี่เหาก็ใช้คลุมหีบศพได้เช่นกัน
เสื้อผ้าที่ตัดเย็บใหม่ๆจะไม่ใส่เล่นจะเก็บไว้ในหีบอย่างดี พอมีงานบุญจะเอาออกมาใช้ เสื้อผ้าใหม่ๆจึงมักจะเรียกว่า “ เสื้อเอาบุญ ” หรือ “ ส้งเอาบุญ ” หรือ “ ชุดเอาบุญ ”
โสร่งไหมเป็นผ้าชั้นดีหายาก จะมีเฉพาะผู้ที่มีเมียหรือแม่ที่เลี้ยงไหมหรือผู้ที่มีฐานะดีหน่อย สามารถนุ่งไปจีบสาวได้ เวลานั่งใกล้สาว จะถลกโสร่งขึ้นเลยหัวเข่าอวดขาลาย สมัย 60 ปีก่อนบ่าวใดมีขาลายผู้สาวจะรักมาก ส่วนผ้าขาวม้าเป็นผ้าอเนกประสงค์มาก
ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มในทำนองที่จะเป็นไปอย่างนั้นจะเป็นไปอย่างนี้ไม่ค่อยมี การแต่งตัวตามสีตามวันผู้ไทยไม่ถือ จะเห็นแต่ผ้าคลุมหีบศพ เมื่อหามศพลงเรือนผ้าคลุมหีบจะปลดออกไว้ใช้ต่อไป แต่ก่อนจะนำมาใช้จะมีพิธีโยนผ้าก่อน ในปัจจุบันการโยนผ้าก็ยังปฏิบัติอยู่และมีข้อ “ คะลำ ” อันหนึ่ง คือ ห้ามนุ่งผ้าอยู่บนต้นไม้ ก่อนขึ้นต้นไม้ให้นุ่งผ้าให้ดีที่สุดก่อน แต่ขึ้นไปแล้วเกิดผ้าหลุดผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าไม่ให้นุ่งอยู่บนต้นไม้ โดยบอกว่า “ งูจะเกี้ยวแข้งเกี้ยวขา ” แต่อันนี้เป็นคะลำสำหรับเด็ก คือ ท่านกลัวตกต้นไม้ คือ ตอนนุ่งผ้ามือเราจะไม่ได้จับกิ่งไม้เลย กลัวจะพลัดตกตอนนั้น
ยังเป็นประเพณีของชาวผู้ไทยอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องนุ่งห่ม 4 อย่างนี้ คือ ผ้าห่ม ที่นอน หมอน ผ้าขาวม้า หญิงสาวชาวผู้ไทยต้องจัดสร้างขึ้นมาไว้มากๆยิ่งตอนใกล้จะแต่งงานจะเน้นเป็นพิเศษ เมื่อหนุ่มมาขอแล้วฝ่ายสาวต้องเร่ง “ ส้างเคิ้ง ” ( สร้างเครื่อง ) คำว่าสร้างเครื่องก็คือ สร้างเครื่องนุ่งห่ม
ในปัจจุบันนี้ก็ยังยึดถือประเพณีนี้อยู่ เพียงแต่ว่าหญิงสาวทุกวันนี้ต้องเรียนหนังสือ หรือไม่ก็ไปทำงานต่างถิ่นไม่มีเวลาทำ เมื่อใกล้จะแต่งงานต้องเดือดร้อนแม่ที่กุลีกุจอสร้างให้ อาจจะให้ญาติๆช่วยทำ หรือจ้าง หรือซื้อสำเร็จรูป
การแต่งกายปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จนไม่มีคนแต่งกายแบบดั้งเดิมตามบ้านให้เห็นแล้ว ยกเว้นจะมีพิธีกรรมบางอย่าง เช่น เวลาจะเหยาเลี้ยงผีหรือกรณีพิเศษ เช่น ฟ้อนผู้ไทยให้แขกผู้มาเยือนได้ชม หรือไปฟ้อนตามที่หน่วยงานราชการขอมา ทุกวันนี้พากันแต่งกายตามสมัยนิยมกันแล้ว ผู้หญิงหันมานุ่งกางเกง เพราะว่าทะมัดทะแมงดี หาง่าย ซื้อสำเร็จรูปมาใช้ได้เลย มีหลากสีหลากทรง

ที่อยู่อาศัย

ที่อยู่อาศัย สภาพบ้านเรือนของชาวผู้ไทยในอดีตนั้นจะแยกกล่าวดังนี้
รูปทรงและองค์ประกอบ
เรือนผู้ไทยในสมัย 40 ปี มาแล้วเป็นเรือนทรงมนิลา คือ มีหลังคาทรงเหลี่ยมยอดแหลมดั้งสูง ใต้ชานสูงประมาณ 2 เมตร มีฝาล้อมรอบ มีประตูหน้าบ้านเข้า 2 ประตู มีหน้าต่างแห่งเดียวเล็กๆพอเอาศีรษะลอดเข้าออกได้ ภาษาผู้ไทยเรียกว่า “ ประตูบอง” “ ถ้าเป็นบ้านของผู้มีฐานะหน่อยหน้าต่างจะสูงเท่าประตู ” ตรงหน้าต่างจะมี “ เสาปากช้าง ” หรือ “ เสาคาช้าง ” ค้ำทอดบ้านตรงหน้าต่าง ทอดบ้าน ภาษาผู้ไทย “ หอนทอด ” จะตีติดเสาคู่หน้าต่าง ลำตีเคร่าโดยเคร่านี้ข้างล่างจะตีตะปูติดทอด ข้างบนจะตีตะปูติดกับขื่อ แล้วฝา ( ทั้งฝาขัดแตะหรือฝากะดาน) จะตีติดเคร่า เสาคางช้างหรือปากช้างจะปาดเป็นบ่าค้ำทอดไว้เสาคางช้างหรือช้างจะเป็นเสาใหญ่กว่าเสาบ้านทุกต้น เป็นเสาโชว์พิเศษสลักเสาลวดลาย ปลายเสาจะปาดเป็นรูปกลีบบัวหรือกาบพรหมศร แต่ชาวผู้ไทยในอดีตอาจจะยังไม่รู้จักลายไทย เมื่อเห็นเป็นรูปคล้ายปากช้างหรือคางช้างก็เลยเรียกเสาคางช้างหรือเสาปากช้าง มีระเบียงยื่นออกมาด้านหน้า ภาษาผู้ไทยเรียกว่า “ เก๋ย ” หลังคาระเบียงถ้าต่อจากหลังคาเรือนใหญ่ลาดลงมาเรียกว่า “ หลังคากะเทิบ ” ถ้าหลังยกเป็นหน้าจั่วยอดแหลมเหมือนเรือนใหญ่จะเรียก “ หลังคาโหลอย ” ( หลังคาหัวลอย ) เรียกทั้งตัวบ้านว่า “ เฮินโหลอย ” ( เรือนหัวลอย ) ระหว่างหลังคาเรือนใหญ่และหลังคาหัวลอยจะมีรางน้ำซึ่งเจาะต้นไม้ทั้งลำ แบบหลังคากะเทิบจะเป็นบ้านของผู้ที่มีฐานะไม่คอยดี บ้านหลังคาหัวลอยหรือเรือนหัวลอยจะเป็นบ้านของผู้ที่มีฐานะดี สมันนั้นดูฐานะก็ดูที่ทรงบ้านก็พอจะรู้แล้วนอกจากนั้นก็ดูที่ฝาและหลังคา ถ้าฝาและหลังคาเป็นกระดานแสดงว่ามีฐานะดี ถ้าหลังคามุงด้วยหญ้า ฝาเป็นฝาขัดแตะแสดงว่าฐานะไม่ดี
“ เฮินซู “ ( เรือนสู่ ) เป็นบ้านอีกรูปทรงหนึ่งซึ่งสร้างแบบลวกๆง่ายๆ แบบ” เสาไม้เมาะ แตะไม้ลื่ม ” ( เสาไม้มอก ตอกไม้ลิ่ม – มอก คือ กระพี้ , ไม้ลื่ม คือ ไม้ไผ่ที่ยังไม่แก่ ) เสาทำด้วยต้นไม้เนื้อแข็งที่ต้นยังเล็กอยู่ขนาดพอดีเป็นเสาโดยไม่ต้องถากเพียงแต่ปอกเปลือก ( เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ซม. ) ตัดหัวท้ายยาวตามขนาดที่ต้องการ การเข้าไม้ประกอบเป็นตัวบ้านไม่ใช้ตะปู ( เพราะในอดีตไม่มีตะปู ) จะใช้ “ เคออู้ย ” ( เครืออู้ย – เถาวัลย์ชนิดหนึ่งเหนียวมาก ) และ “ เตาะไม้ลื่ม ” คือ เอาไม้ไผ่ที่ยังไม่แก่ อายุประมาณ 10-12 เดือน มาจักเป็นตอกมัด ตอกไม้ลื่มนั้นมันจะเหนียวไม่เปราะเหมือนตอกไม้แก่ ( ไม้แก่ผู้ไทยว่า “ ไม้กล้า ”) ตัวไม้ทำโครงบ้านก็เหมือนบ้านโบราณดั้งเดิมทั่วไป คือ หลังคามุงหญ้าคา ฝาเป็น “ ฝาพะล่าน ” ไม่มีเกย ไม่มีชาย ไม่มีเรือนครัว เฮินซูเป็นบ้านที่เขยที่มาสร้างไว้ก่อนแต่งงานไม่นาน สร้างให้เฉพาะลูกเขยที่จะมา “ ซูพ่อเฒ่า ” ( สู่พ่อตา ) คือ ลูกเขยที่แต่งงานแล้วขออาศัยอยู่กับพ่อตาชั่วคราว เมื่อพอเลี้ยงตัวได้แล้ว หรือบางทีอยู่ 2-3 ปีก็ขยับขยายไปสร้างบ้านใหม่ในที่อื่น บางทีพ่อตากลัวลูกสาวลำบาก ลูกเขยสร้างบ้านใหม่ก็ให้สร้างบริเวณที่ดินพ่อตาเลย กล่าวถึงการสร้างเฮินซูนั้น เมื่อหาวัสดุพร้อมแล้วก็จะวานเพื่อนบ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือให้เสร็จภายในวันเดียว
สาเหตุที่มีการสร้างเฮินซู ก็เพราะสมัยก่อนบ้านพ่อตาก็หลังเล็ก ถ้าจะเอาเขยมาอยู่ด้วยก็จะดูคับแคบลงไปอีก จึงให้สร้างเฮินซูอยู่ในบริเวณที่ดินเดียวกันกับพ่อตา ถ้าพ่อตามีบ้านหลังใหญ่ก็ไม่ต้องตั้งเฮินซู พ่อตาก็จะให้กั้นห้องเอาที่เกยเลยก็ได้ ก็สบายไป ประมาณ 20 ปีมานี้ไม่เห็นมีการตั้งเฮินซูแล้วเพราะ
1.บ้านเริ่มเข้าสู่สมัยใหม่ พ่อตามีบ้านหลังใหญ่ เขยซูก็จะอยู่ร่วมบ้านเดียวกับพ่อตา โดยยกห้องใดห้องหนึ่งใหม่ให้
2.ไม่ค่อยมีการซูพ่อเฒ่า ในปัจจุบันนี้บ้านรูปทรงดังกล่าวนี้หายากแล้ว เพราะผู้ที่สร้างบ้านใหม่ก็จะสร้างตามสมัยนิยมกันหมด
ประโยชน์ใช้สอยบ้าน บ้านชาวผู้ไทยเมื่อสมัย 40 ปีมาแล้วแบ่งประโยชน์ใช้สอย ซึ่งแยกกล่าวทั้งส่วนสำคัญและส่วนประกอบ ดังนี้
ห้องใน ซึ่งเป็นตัวเรือนใหญ่ มีฝาล้อมรอบ มีประตูเข้า-ออก 2 ประตู มีหน้าต่าง 1 ช่อง ห้องนี้ในภาษาผู้ไทยเรียกว่า “ โก๋ง ” ภายใน “โก๋ง” จะกั้นเป็นห้องนอนอีก มี 1 ประตู ผู้ไทยเรียกว่า
“ โก๋งโส้ม ” สำหรับเป็นที่นอนของลูกสาว บางบ้านภายใน “โก๋งโส้ม ” อาจจะกั้นห้องหรือเอาตู้หรือกองผ้าห่มกั้นให้เป็นที่นอนของพ่อแม่ด้วย ข้างโก๋งโส้มอาจจะทางซ้ายหรือขวาก็ได้เรียกว่า “ ฮอง ” เป็นที่นอนของพ่อแม่หรือลูกชาย
ห้องนอกหรือเกย ภาษาผู้ไทยว่า “ เก๋ย ” ไม่มีฝา มีแต่หลังคาเป็นที่นั่งเล่นรับลมเย็น เป็นที่รับแขก เป็นที่รับประทานอาหาร หรือกั้นเป็นห้องให้ลูกเขยอยู่ “ เฮินไฟ ” ( เรือนครัว ) จะตั้งต่อจากเกยออกไป บางหลังคาเรือนอาจจะตั้งแยกออกไป มีเพียงกระดาน 1-2 แผ่นพาดเชื่อมกับเกย เนื้อที่ภายใน “ เฮินไฟ ” นั้นมีเตาไฟ เตาไฟมีลักษณะเป็นกะบะยกพื้นสูง สูงขึ้นจากพื้นเรือนครัวประมาณ 5-10 ซม. กว้างประมาณ 1*1 เมตร ขอบกะบะสูงประมาณ 1 คืบ ใส่ดินให้เต็มเพื่อป้องกันไฟไหม้พื้น ที่ก่อไฟนั้นอยู่กลางล้อมด้วยก้อนเส้า 3 ก้อน เป็นที่วางหม้อ หรือบางทีใช้ “ เคง ” ( เคียง ) คือ ที่วางหม้อเวลาต้มแกง เป็นที่วางที่เป็นเหล็กมี 3 ขา ด้านบนขาจะเชื่อมติดกับแผ่นเหล็กบาง งอเป็นรูปวงกลมเป็นที่สำหรับรับก้นหม้อ รอบตามฝาเรือนครัวจะวางสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระติบข้าว ตะกร้า ไหปลาร้า ไหเกลือ เป็นต้น เหนือเตาไฟจะมีห้างสูงประมาณระดับหน้าผาก มีไว้สำหรับห้อยเนื้อที่จะทำเนื้อแห้ง ห้อยข้อง ตะกร้าที่เพิ่งสานใหม่ๆ เรียกว่า “ ย่างคา” เพื่อป้องกันแมลงกินไม้ เช่น มอด มิให้มากินข้อง ตะกร้า ฯลฯ เหล่านี้
ชาน ( ซาน ) เป็นพื้นที่ต่อกับเกยหรือเรือนครัว มีไว้สำหรับวางตุ่มน้ำดื่ม น้ำอาบ น้ำใช้ ตรงริมชานมักจะวางรางผัก ชานนี้จะไม่มีหลังคา ไม่มีฝา พื้นชานจะต่ำกว่าเกยหรือเรือนครัว ที่ชานจะมีบันไดเรียกว่า “ ขั้นบันได๋ซาน ” ( บันไดชาน )
การใช้บริเวณบ้าน อดีตเมื่อ 40 ปีมาแล้วการใช้บริเวณบ้านของชาวผู้ไทยพอกล่าวได้ดังนี้
1. ใต้ถุนบ้านจะเป็นที่ผูกควาย คือ ทำเป็นคอกควาย โดยตีไม้ล้อมรอบ มีประตูซัด เอาเสาบ้านเป็นเสาคอกและมีเสาเสริมอีกเพื่อให้แข็งแรง
2. ทางหลังบ้านหรือทางข้างก็จะสร้าง “ เล้าข้าว ” ( ยุ้งข้าว ) ใต้ยุ้งข้าวจะทำเล้าไก่หรือเล้าหมู
3. หน้าบ้านบางทีก็ปล่อยโล่งไว้สำหรับนั่งผิงแดดหน้าหนาว เรียกกว่า “ ลานหน้าบ้าน ” มีปลูกไม้ยืนต้นบ้างพอเป็นร่มเงา เช่น มะม่วง ขนุน เป็นต้น
4. บางคนที่ไม่ชอบผูกวัวควายไว้ใต้ถุนบ้าน ก็ออกผูกนอกใต้ถุนข้างๆบ้าน เรียกว่า “ แลงควาย ” (แหล่งควาย) หรือ” แลงโง ” ( แหล่งวัว )
ความเชื่อเกี่ยวกับบ้าน ในอดีตชาวผู้ไทยยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับบ้าน ดังนี้
1. เกี่ยวกับไม้ที่จะนำมาสร้างบ้านนั้น จะห้ามเอาไม้ดังต่อไปนี้มาสร้างบ้าน
- ไม้ฟ้าผ่า ผู้ไทยเชื่อว่าไม้ที่ถูกฟ้าผ่านั้นเพราะ “ มันเข็ด มันขวง ” ( มันอัปปรีย์จัญไร ) ไม่ควรเอามาสร้างบ้าน
- ไม้แยงเงา ( ไม้ส่องเงา ) คือ ต้นไม้ที่อยู่ริมห้วย ลำต้นเอาเข้าหาลำห้วย ( อาจจะเป็นเพราะโค่นยาก ปล้ำยาก อันตราย )
- ไม้ที่ชื่อไม่เป็นมงคล เช่น ไม้กระบก คำว่า “ บก ” คือ บกพร่องลงไปหรือขาดเขิน นำมาสร้างบ้านจะทำให้สร้างไม่ขึ้น ขาดเขินอยู่เป็นประจำ
2. เกี่ยวกับการใช้บ้าน
- ห้ามวางพาข้าวหรือนอนใต้ขื่อ ยังหาคำอธิบายไม่ได้
- ศพจะวางไว้ใต้ขื่อ อันนี้คิดว่าตรงใต้ขื่อมันจะตรงกับคานของบ้านพอดี ซึ่งจะรับน้ำหนักของหีบศพได้ดีกว่าบริเวณอื่น
- ส่วนประกอบของบ้าน เช่น บันได จำนวนขั้นบันไดจะเป็นจำนวนคี่ เช่น 5 ขั้น 7 ขั้น 9 ขั้น เป็นต้น

การใช้ชีวิตประจำวัน

การใช้ชีวิตประจำวัน
การกิน เรื่องการกินชาวผู้ไทยนับว่าเป็นผู้ที่กินง่ายที่สุด ไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องการกินขอให้มีข้าวเหนียวไว้ในกระติบก็พอ “ หน่อไม้เค็ม ” ( หน่อไม้หมักเกลือโรยข้าวสารนิดๆ ) ที่อยู่ในไหกินกับข้าวเหนียวอิ่มท้องแล้วอยู่ได้ ทำงานได้ หรือข้าวเหนียวคลุกเกลือหรือ “ จ้ำปลาแดก ” อึ่งอาง กบ เขียด ทุกชนิดผู้ไทยกินหมดแมลงต่างๆนานาชนิดผู้ไทยกินได้ (มียกเว้นบางชนิด ) อย่างแมลงเม่ามาตอมไฟผู้ไทยเอาน้ำใส่กะละมังมารอง เมื่อได้มากแล้วเอาไปคั่วโรยเกลือกินกับข้าวได้ ดังนี้เป็นต้น
ดังนั้นเรื่องอาหารการกินของผู้ไทยจึงไม่ค่อยอดค่อยอยาก แต่ทั้งนี้ต้องมองเฉพาะผู้ที่มีความขยันหาและมีเวลาหาด้วย ผู้ที่ไม่ขยันและไม่มีเวลาก็มีบ้างอดบ้างเป็นธรรมดา
แหล่งที่มาของอาหารการกิน ชาวผู้ไทยเป็นชนเผ่าที่พิถีพิถันในเรื่องการเลือกทำเลที่จะตั้งหมู่บ้านมาก จะต้องเป็นที่ราบใกล้ภูเขาหรือแหล่งน้ำ “ ฮึ่นภูเฮ่อได้กะแต๋กะเฮาะ เลาะฮิมโห้ยเฮ่อได้ผักต๋าเป้ะผักหนามลงเน่อน้ำเฮ่อได้ป๋า ปู๋ จุ้ง หอย ” ( ขึ้นภูให้ได้กระแตกระรอก เลาะริมห้วยให้ได้ผักหนาม ลงน้ำให้ได้ปลา ปู กุ้ง หอย )
ในอดีตแหล่งอาหารก็ใกล้บ้านนั่นเอง พวกสัตว์บกสัตว์น้ำมีมากมาย เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต มีให้เห็นอยู่ทุกวัน แต่ว่าสมัยนั้นเครื่องมือจับสัตว์ยังไม่ทันสมัย มีแต่หน้าไม้ยิงกระรอกกระแต อยากกินหมูป่าหรือเก้งต้องระดมชายฉกรรจ์ทั้งหมู่บ้านออกล่า ใครมีปืนแก็ป ( ซึ่งหายากเต็มที) ก็เอาไป ใครมีหอกก็เอาหอก บางครั้งก็ใช้ “ เป๊าะน้าง ” ( ดักตาข่าย ) พากันไล่หมูป่าหรือเก้ง ตะล่อมให้ไปติดตาข่ายแล้วใช้หอกแทง กว่าจะได้มาก็ลำบากพอสมควร แต่ก็ตื่นเต้นด้วย สัตว์น้ำ ปู กุ้ง หอย หาได้ง่าย ปลามีกินบ่อยตอนหน้าฝน หน้าแล้งก็อาศัยการทอดแห แหสมัยนั้นสานด้วยด้ายที่แม่บ้านปั่นให้ เส้นใหญ่เทอะทะ หว่านลงไปจะจม ช้าไม่ค่อยจะทันปลาใหญ่ กบ เขียด อึ่งอ่าง ในหน้าฝนมีมากมาย คืนฝนตก กบ เขียด อึ่งอ่าง ร้องก็ออกไปจับ แต่ไม่ได้มากเพราะไฟที่จะส่องก็ใช้ไฟ “ กะบ๋อง ” ( ใต้ ) แสงไม่สว่างเห็นไม่ไกล
พืชผักต่างๆมีมาก ทั้งพืชบ้าน พืชสวน พืชป่า พืชบ้านได้แก่ ผักกุ่ม กระถิ่น ตำลึง ฯลฯ พืชสวนก็มี ยอดบวม ยอดฟักทอง เผือก มัน เป็นต้น พืชป่าก็มีผักหวาน เห็ดต่างๆที่กินได้ หน่อไม้ ดอกกระเจียว มีผญาคำสอนบทหนึ่งว่า “ อย่าไป๋เก็บดอกหว่านบ้านเพิ๋นมาบ๋าน เฮ่อเจ้ายื๋นงอยชานเก็บดอกกะเจ๋วฮิมโฮ้ ” ( อย่าไปเก็บดอกหว่านบ้านอื่นมาบ้าน ให้เจ้ายืนที่ชานเก็บดอกกระเจียวริมรั้ว ) ชี้ให้เห็นว่าสมัยก่อนดอกกระเจียวก็เก็บเอาที่ริมรั้วติดกับชานบ้าน แสดงว่าอุดมสมบูรณ์มากจริงๆ
อาหารจำพวกเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นไก่ หมู วัว ควาย สมัยอดีตไม่ค่อยได้กิน หมู เป็ด ไก่ วัว ควาย มีมากมาย แต่ไม่มีใครฆ่ากิน อาจจะเป็นเพราะเคร่งศีลธรรมก็ได้นานๆที เช่น มีงานบุญ บุญกฐิน บุญพระเวส ฆ่าทีหนึ่ง ผู้ที่ฆ่าขายก็หายากเต็มที ฆ่าแล้วก็ไม่ค่อยมีผู้ซื้อ สมัย 40 ปีมาแล้วเนื้อวัวควายราคาถูกมาก ซื้อ 10 บาทได้เนื้อ 1 หาบ หมูโตเต็มที่ตัวละ 200 บาท ไก่ ตัวใหญ่ตัวละ 5 บาท ในสมัยปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้คนมากขึ้นของกินก็หายาก ระบบการซื้อขายเข้ามา ผู้คนจึงหาซื้อกันที่ตลาดเป็นส่วนมาก แต่ผู้ที่ขยันหาจริงๆก็หาได้พอกินพอขายด้วย
การปรุง ผู้ปรุง การปรุงอาหารก็ตามหลักการปรุงอาหารทั่วๆไป คือ จะขาดปลาแดกไม่ได้ และอาหารผู้ไทยจะออกไปทางรสจัดๆการปรุงก็แบบง่ายๆไม่ต้องกำหนดมาตรฐาน ส่วนอาหารบางชนิด เช่น ก้อยเนื้อ ก้อยปลา การปรุงไม่ต้องใช้ไฟเลย กินกันดิบๆ แต่ใส่เครื่องเทศครบ หอมน่ากินมาก จนมีคำพูดหลอกกันเล่นว่า เวลาปรุงก้อยห้ามสูบบุรี่ หรือเอาตะเกียงมาใกล้ กลัวเนื้อจะสุก ส่วนผู้ปรุงอาหารนั้นส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของผู้หญิง มีผู้ชายมาช่วยบ้างบางคราว เช่น การปรุงก้อยส่วนมากจะเป็นผู้ชาย
ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย ส่วนที่เปลี่ยนแปลงก็คือ การกินสุกๆ ดิบๆลดลงประมาณ 5-10 % เนื่องจากการรณรงค์ไม่ให้กินสุกๆดิบๆโดยเฉพาะปลา อีกประการหนึ่ง การปรุงอาหารในปัจจุบันนี้ก็ถูกหลักโภชนาการมากขึ้น เนื่องจากได้รับความรู้จากลูกหลานที่เล่าเรียนมาและได้รับการอบรมด้านโภชนาการจากหน่วยงานสาธารณสุขประจำอำเภอและตำบล
อุปนิสัยในการกิน ชาวผู้ไทยมีอุปนิสัยในการกินแบบเรียบๆง่ายๆดังกล่าวแล้ว และในการกินอาหารก็เหมือนอีสานทั่วๆไป คือ กินข้าวเหนียว นั่งกินกับพื้น ไม่มีช้อนกลาง ช้อน 2-3 คัน เปลี่ยนกันซด ไม่มีห้องอาหารโดยเฉพาะ บางครอบครัวก็กินในห้องครัว บางครอบครัวก็กินที่ระเบียงหน้าบ้าน แต่ที่สำคัญจะไม่วางพาข้าวไว้ใต้ขื่อบ้าน ถือเป็นเรื่อง “ คะลำ ” ( ข้อห้าม )
ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างไม่มาก บางครอบครัวที่มีฐานะดีหน่อยก็มีโต๊ะอาหาร
( บางทีกินข้าวเจ้า) คือ พยายามปรับตัวเหมือนกับคนภาคกลาง
ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร ชาวผู้ไทยในอดีตนั้นมีความเชื่อเกี่ยวกับอาหารที่จะต้อง “ คะลำ ” เพราะมีความเชื่อว่าอาหารบางชนิดกินเข้าไปแล้วจะทำให้ผิดต่อโรค โดยเฉพาะ “ แม่อยู่คำ ” ( ผู้หญิงที่กำลังอยู่ไฟ ) จะกินกระต่ายและเก้งไม่ได้ แม่อยู่ไฟนี้จะ “ คะลำ ” ถี่มาก ตอนอยู่ไฟจะกินแต่ข้าวจี่ หน่อข่า ผักต่างๆ ( บางคนก็กินชะอมไม่ได้ ) ปูจี่ กบ เขียด ยังพอกินได้
แต่ในปัจจุบันนี้ได้รับการอบรมด้านโภชนาการ ความเชื่อก็เปลี่ยนไปบ้างแล้วแต่กระต่ายและเก้งนี้ในปัจจุบันแม่อยู่ไฟก็ยังกินไม่ได้ ซึ่งถ้ากินเข้าไปแล้วจะ “ ผิดกรรม ” คือ วิงเวียนปวดศีรษะ เจ็บไข้ไปทันที ต้องหายา ( สมุนไพร ) มาแก้

ภาษาภูไท

ภาษา
เนื่องจากเป็นบ้านของชาวผู้ไทย ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาผู้ไทยและยังคงรักษาภาษาผู้ไทยไว้ได้ด้วยดีตลอดมา
ภาษาผู้ไทยเป็นภาษาที่พูดแปร่งไปจากภาษาลาวและภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งไม่สามารถอธิบายเป็นภาษาเขียนได้ เพราะหลายคำเสียงไม่ตรงกับวรรณยุกต์ใด นอกจากจะฟังด้วยหูเท่านั้น จะยกตัวอย่างคำบางคำที่พอจะอธิบายเป็นภาษาเขียนได้พอใกล้เคียง ดังนี้
1. คำที่มีสระ เ-ีย , เ-ือ , -ัว จะเป็นสระ เ-, เ-อ, โอ เช่น
เมีย – เม , เขียน – เขน , เขียด – เคด ,
เสื่อ – เสอ , เลือด – เลิด , เมือง – เมิง ,
ผัว – โผ , ด่วน – โดน , สวน – โสน
2. สระ ไ, ใ, -ัย บางคำจะเป็นสระ เ-อ เช่น
ใต้ – เต้อ ( เสียงแปร่งอยู่ระหว่างวรรรณยุกต์เอกและโท คือ .่......)
ใส่ – เชอ
ให้ ( สิ่งของ ) – เห้อ ( เสียงแปร่ง )
ใหม่ – เมอ
3. พยัญชนะ ข บางคำจะเป็นตัว ห เช่น
เขียง – เหง
ขาย – หาย
ของเขา – หองเหา
เขา ( สัตว์ ) – เหา
4. พยัญชนะ ร จะเป็น ฮ เช่น
เรือ – เฮือ เรือน – เฮือน รอย – ฮอย
ร้อง – ฮ้อง รีบ – ฮีบ
5. บางคำที่สะกดด้วย ก. ไก่ จะไม่มีเสียงตัวสะกดและสระจะเป็นสระเสียงสั้น เช่น
แตก – แต้ะ แบก – แบ้ะ ผูก – พุ
สาก – ซะ ปาก – ป้ะ
6. บางคำที่มีเสียงสระ –ึ จะเป็นเสียงสระ เ-อ เช่น
ลึก – เล็ก ผึ้ง – เผิ่ง ( เสียงแปร่ง = .่...๋...้.)
7. บางคำมีคำเรียกเฉพาะที่ไม่มีเค้าทางภาษาไทยเลย เช่น
สิ่งของหาย – เฮ้ หายเจ็บหายไข้ – ดี๋เจ็บดี๋ไข้ ( แปร่ง )
ท้ายทอย – กะด้น ( แปร่ง ) หัวเข่า – โหโค้ย
ผิดไข้ – มึไข้ ( แปร่ง ) ตาตุ่ม – ป๋อมเพอะ
ไปไหน – ไป๋ซิเลอ ผู้ใด – ใคร – เพอ
อยากกินข้าว – เยอะกิ๋นข้าว ( แปร่ง )
ฯลฯ
คำว่า บางคำ นั้น หมายถึงว่าไม่เป็นเช่นที่กล่าวมาทุกคำ ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง มีลาวอีสานที่มาอยู่ถิ่นผู้ไทยใหม่ๆก็หัดเรียนภาษาผู้ไทย ตอนสระไอเป็นสระเออ ผู้สอนคงไม่บอกข้อยกเว้น พอแกเหลียวไปเห็นไก่ตีไก่ก็ร้องลั่นขึ้นว่า “ นั่นเกอตี๋เกอ ” ก็เลยเกิดฮาครืนขึ้นมา เพราะว่า “ ไก่ ” ก็เรียกว่าไก่อยู่ แต่ตัดไม้เอกออกเป็น “ ไก่ ” ( แปร่งนิดๆ )
หากนำคำภาษาผู้ไทยมาเปรียบเทียบกับภาษากรุงเทพฯ ซึ่งเพิ่งมีการติดต่อกันไม่นานผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ ก็พบว่าคำในภาษา 2 กลุ่มนี้มีเหมือนกันถึงร้อยละ 36.73 คล้ายกันร้อยละ 36.05 คำที่คล้ายกันมีทั้งคล้ายกันมาก เช่น ไก่ – ไก ตา – ต๋า นิ้วกลาง – นิ้วกาง ปืน – ปื้น บางคำก็คล้ายกันมนระดับปานกลาง เช่น ปาก – ปะ เสื้อ – เชอ บางคำก็คล้ายกันเล็กน้อย เช่น แขน – แหน ขา – หา บันได – คันได๋ บวบ – มะโบ้บ ส่วนที่ต่างกันมีร้อยละ 27.21 เช่น มะละกอ – มะฮุง ฟักทอง – มะจู้บ ส้มโอ – มะเก๊ง พระ – ญาคู เณร – โจ๋น้อย ช้อน – โบง ทำ - เอ๊ด หากรวมคำที่เหมือนและคล้าย พบว่ามีถึงร้อยละ 72.78 จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าภาษาผู้ไทยกับภาษากรุงเทพฯเป็นภาษาตระกูลเดียวกันอย่างแน่นอน ส่วนคำที่แตกต่างกันนั้นเป็นไปได้ว่าช่วงที่คนไทยรวมอยู่ใกล้กันยังไม่ได้รับศาสนาพุทธ จึงเรียกคำว่าพระและเณรต่างกันมาก ต่างกลุ่มก็เรียกต่างกันไป
เช่นเดียวกับผักผลไม้บางชนิดที่เรียกต่างกันมาก ดังที่ได้ยกมาข้างบน เป็นไปได้ว่าช่วงที่คนไทยรวมอยู่ด้วยกันไม่มีมะละกอ ฟักทอง ส้มโอ ต้นไม้ 3 ชนิดนี้คนไทยอาจรับเข้ามาภายหลังที่แยกตัวออกไปตามที่ต่างๆแล้ว
ส่วนคู่เปรียบเทียบคำในภาษาผู้ไทยกับภาษาไทยอีสาน ก็พบว่าเหมือนกันร้อยละ 37.67 คล้ายกันร้อยละ 52.14 หากรวมเข้าด้วยกันเท่ากับร้อยละ 89.81 ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างไม่ต้องสงสัยว่า ภาษาผู้ไทยกับภาษาไทยอีสานเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน และเป็นกลุ่มที่ใกล้กันมาก มีแตกต่างกันเพียงร้อยละ 12.86 จึงเป็นไปได้มากกว่าคน 2 กลุ่มนี้อยู่บริเวณเดียวกันมาก่อน ดังที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเมืองแถง มาแยกกันเมื่อคนลาวอพยพมาตั้งรกรากในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงจากหลวงพระบางลงมาทางเวียงจันทน์และแอ่งสกลนคร ส่วนกลุ่มผู้ไทยก็ยังอยู่บริเวณสิบสองจุไท และยังขึ้นกับลาวตลอดมาด้วยภาษาจึงใกล้เคียงกันมาก
ส่วนคู่เปรียบเทียบคำในภาษาผู้ไทยกับภาษาไทยดำ มีคำเปรียบเทียบกันน้อย แต่ศึกษาผ่านงานของผู้อื่น จากคำทั้งหมด 89 คำ พบว่าเหมือนกันร้อยละ 34.83 คล้ายกันร้อยละ 44.94 รวมร้อยละ 79.77 แตกต่างกันเพียงร้อยละ 20.22 จึงอาจสรุปได้ว่าภาษาของคน 2 กลุ่มนี้ตระกูลเดียวกันและคงอยู่บริเวณเดียวกันมาก่อนด้วย แต่ได้แยกกันมา 200 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มผู้ไทยบ้านหนองโอใหญ่นี้แยกจากเมืองแถงไปอยู่เมืองวัง เมืองคำอ้อ แล้วจึงอพยพมาอยู่ที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ส่วนผู้ไทยดำกลุ่มที่ให้ข้อมูล แยกจากเมืองแถงไปอยู่เชียงขวาง จากเชียงขวางไปอยู่บ้านอีไล ในแขวงเวียงจันทน์และในที่สุดก็อพยพมาอยู่ที่ศูนย์ผู้อพยพจังหวัดหนองคายในปี 2518 ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ศตวรรษที่ 2 กลุ่มนี้ไม่ได้ติดต่อกันและต่างฝ่ายก็รักษาภาษาของกลุ่มที่อยู่ใกล้เคียง เช่น รองเท้า ผู้ไทยเรียก เกิ้บ แต่ผู้ไทยดำเรียก ฮาย ซึ่งน่าจะเป็นภาษาญวน ญวนเรียกรองเท้าว่า ไย่ บางคำอาจจะคิดขึ้นภายหลังจากแยกย้ายออกไปจากเมืองแถงแล้ว เช่น กระดุม ภาษาผู้ไทยเรียกว่า มะติง แต่ภาษาผู้ไทยดำเรียก มะห่อ แต่อย่างไรก็ตามคำหลักๆของสองภาษานี้คล้ายกันมาก

วิถีชีวิตของชาวภูไท

วิถีชีวิตของชาวผู้ไทย
ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวผู้ไทย ก็คงเหมือนกับครอบครัวไทยทั่วๆไป คือ ในครอบครัวหนึ่งๆก็จะมีพ่อเป็นใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ แม่ พี่คนโต และรองลงไปตามลำดับ
1.สังคมผู้ชายเป็นใหญ่ ในอดีตเมื่อ 40 ปีย้อนลงไป สังคมผู้ไทยได้ให้ความสำคัญต่อผู้เป็นสามีมาก ในปัจจุบันก็ยังให้ความนับถืออยู่ เพียงแต่ลดพฤติกรรมบางอย่างลงไปบ้าง เช่น
การกราบ การสมมาสามีในวันพระ บางคนไม่ได้ทำเลยโดยเฉพาะภรรยารุ่นใหม่ แต่จะสมมาสามีตอน “ ออกคำ ” ( ออกจากการอยู่ไฟ ) ใหม่ๆทุกครั้งเหมือนในอดีต ที่สมมาตอนออกคำใหม่ๆ ก็เพราะสามีเป็นผู้ลำบากทุกข์ยาก อดตาหลับขับตานอน ตักน้ำหาฟืน ดูแลภรรยาที่อยู่คำ ( เพราะฉะนั้นการอยู่คำนี้ภาษาลาวจึงเรียกว่า “ อยู่กรรม ”)
การสมมาในวันพระลดลงมาก บางคนไม่ทำเลย เพราะว่าเศรษฐกิจรัดตัว ทั้งผัวทั้งเมียต้องออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน ผู้ออกจากบ้านบ่อยและกลับดึก คือ สามีนอกเรื่องงานแล้วอาจจะเป็นกิจกรรมของหมู่บ้าน เช่น ประชุมประจำเดือน ประชุมเตรียมการทำบุญ หรือติดงานด้านอื่นๆทำให้กลับบ้านดึก ภรรยาจึงนอนก่อน แต่ก่อนภรรยาต้อง “ ตื่นก่อนนอนหลัง ” จึงได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อไม่ได้สมมาบ่อยๆเข้า ก็เลยเลิกไปโดยปริยาย
การกราบสามีก่อนนอนก็เช่นกัน บางคนเอาปลายผมตัวเองเช็ดเท้าสามีในปัจจุบันเหลือน้อยแล้วจนแทบจะไม่มี จนจะเหลือแต่เพียงเรื่องเล่าที่เลิกไปก็ด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว
การกินข้าว แต่ก่อนต้องพร้อมกัน เมื่อทุกคนนั่งวงล้อมนาข้าวแล้วให้สามีเริ่มก่อนเดี๋ยวนี้ลดลง เพราะต่างมีธุระลูกก็รีบไปโรงเรียน สามีก็ติดธุระก็อนุญาตลูกเมียกินก่อน นานๆเข้าก็เลยถือเป็นเรื่องธรรมดาไป แต่ก็มีแบบเดิมให้เห็นอยู่ไม่มากการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มมีมาประมาณ 30 ปีมาแล้ว อีกประการหนึ่งที่เปลี่ยนไป คือ เดี๋ยวนี้มีความเจริญขึ้นมาก หญิงชายมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ทั้งสามีภรรยาต่างมีบทบาทในครอบครัวเท่ากัน ช่วยกันทำมาหากินไม่มีใครยิ่งหย่อนกว่ากัน เช่น ทั้งสามีภรรยาต่างเป็นข้าราชการ แต่อย่างไรก็ตามภรรยาก็ยังให้ความนับถือสามีอยู่ ถึงแม้ลด พฤติกรรมบางอย่าง แต่ด้านอื่นยังไม่เปลี่ยนแปลง เช่น การให้ความห่วงใย เอื้ออาทร ปรนนิบัติ ก็ยังมีเหมือนเดิม
บรรดาลูกๆทั้งหลายต้องให้ความเคารพพ่อแม่ ไม่กระด้างกระเดื่อง มิเช่นนั้นแล้ว “ มันละลุ้ยละลง ส้างกึ๋นมิหึ้น ส้างเพงโห เจินลงเพงตี๋น ” ( มันจะเสื่อม ทำกินไม่ก้าวหน้า สร้างสูงถึงศีรษะ ทะลายลงถึงตีน )
2. การสืบสายตระกูล ชาวผู้ไทยส่วนใหญ่ผู้ชายจะเป็นหลักในการสืบสายตระกูล ในการสืบมรดกนั้นในอดีตมักจะให้ผู้ชาย เพราะถือว่าลูกผู้หญิงต้องไปสมสร้างกับสามี บรรดาลูกชายคนที่จะได้มรดกมาก แบ่งเป็นดังนี้
1.พี่จะได้มากกว่าน้อง คือ “ อ้ายเอาสอง น้องเอาหนึ่ง ” เพราะมรดกต่างๆ เช่น ที่นา ถือว่าพี่เป็นคนช่วยพ่อทำมากกว่าน้อง นอกจากนี้พี่ยังเป็นคนเลี้ยงน้องด้วย
2.ผู้ที่รับภาระเลี้ยงดูพ่อแม่มากย่อมได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นพี่หรือเป็นน้อง ถ้าเป็นผู้ดูแลพ่อแม่จนพ่อแม่ตาย มรดกส่วนที่ยักไว้ของพ่อแม่ย่อมเป็นของผู้ที่เลี้ยงดูนั้น เพราะเลี้ยงดูพ่อแม่จน “ เหม็นกับเข่า เน่ากับตัก ” และ “ ไง้เงินเอาะ เทาะถงเท ” (ใช้เงินจัดการศพ จนขอดเกลี้ยงกระเป๋า)แต่ก็เหมือนกันที่พ่อแม่ให้ลูกสาวเป็นผู้มาเลี้ยงดูตน หรือไปอยู่กับลูกสาว ลูกสาวรับภาระในการเลี้ยงดู ลักษณะนี้ลูกสาวย่อมได้มรดกมากกว่า ( แต่จำนวนพ่อแม่ที่อยู่กับลูกชายมีมากกว่าอยู่กับลูกสาว ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ) มีการให้มรดกแก่ลูกสาวอีกวิธีหนึ่ง คือ การ “ กาวลำชาย ” ( กล่าวเอาว่าเป็นลูกชาย ) คือ ในกรณีที่ลูกสาวแต่งงานออกเรือนไปอยู่กับสามีแล้วเกิดตกทุกข์ได้ยากสิ้นไร้ไม้ตอก ผู้เป็นพ่อก็เอามา “ กาวลำชาย ” ให้รับมรดกได้ “ การกาวลำชาย ” นั้นจะกล่าวตอนมีหญิงสาวที่มีนามสกุลเดียวกันกับพ่อ ( คือ พี่น้อง ลูกหลานของพ่อ ) แต่งงานก็จะกล่าวในงานแต่งงาน โดยแจกไม้ขีดไฟให้ “ เท้าอ้ายเท้าน้อง ” ( ผู้เฒ่าผู้แก่ฝ่ายพ่อ ) และบรรดาเขยทั้งหลาย แล้วประกาศให้ทราบว่า “ นาง... ต่อไปนี้จะกล่าวถือว่าเสมือนเป็นลูกชาย... ให้ญาติพี่น้องรับทราบไว้ ” เมื่อกล่าวแล้ว นาง ... ก็มีสิทธิรับมรดกจากพ่อ และบางคนเมื่อถูกกล่าวลำชายแล้วหันมาใช้นามสกุลของพ่อก็มี ในปัจจุบันนี้การสืบสายตระกูลสืบมรดก ลูกทุกคนมีสิทธิได้รับแบ่งเท่าเทียมกันแต่จะยักไว้ “ พูดพ่อแม่ ” (ส่วนของพ่อแม่ ) ไว้ให้ผู้ที่เลี้ยงพ่อแม่จนตาย
ขนาดครอบครัว ในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อนยังไม่มีการวางแผนครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีขนาดใหญ่ บางครอบครัวมีลูกตั้ง 10-12 คน ใครมีลูกมากยิ่งดีจะได้ “ กินแฮง ” ( กินแรง ) ลูกคือ จะมีผู้มาเลี้ยงดู เวลามีการแต่งงานจะมีการให้พรคู่บ่าวสาวว่า “ ...เฮ่อได้ลุเต๋มบ้านเฮ๋อได้หลาน เต๋มเมิง... ” ( ให้ได้ลูกเต็มบ้าน ให้ได้หลานเต็มเมือง ) แต่ในปัจจุบันทนกระแสกดดันทางเศรษฐกิจไม่ไหว เมื่อมีการรณรงค์การคุมกำเนิด จึงมีการคุมจำนวนลูกให้ได้ตามต้องการ บางครอบครัวก็มีลูก 2 คน บางครอบครัวก็มีแค่คนเดียว
ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย ในสมัยก่อน 30 ปีมาแล้ว ผู้ที่แต่งงานแล้วจะอยู่กับพ่อแม่ หรือพ่อตาแม่ยายเสียก่อน ชั่วระยะ 2-3 ปี แล้วจึงค่อยแยกครอบครัวออก แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลง คือ พอแต่งงานอยู่กับพ่อแม่ชั่วระยะเดี๋ยวเดียวก็ออกไปนั้น จะแยกกล่าวดังนี้
ลูกชาย ในสมัยก่อนนั้นการหาเงินทองยังไม่คล่องเหมือนทุกวันนี้ รับจ้างถางสวน หรือดำนา หรืองานอื่นๆ ก็เพียงวันละ 5 บาท ดังนั้นเมื่อลูกชายแต่งงานแล้วต้องอาศัยอยู่กับพ่อเสียก่อน เพราะต้องพึ่งพ่อแทบทุกอย่าง เงินทองก็ยังไม่มีต้องอาศัยพ่อแม่ เวลาที่จะออกเรือนแยกไปไม่แน่นอน หากน้องชายแต่งงานเร็ว พี่ชายก็จะแยกเรือนออกไปเร็ว เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไป ความเจริญเข้ามาแนวทางหาเงินมีมาก ลูกชายก็เลยหาเงินเอาเอง ( บางทีพ่อแม่ได้อาศัยลูกซ้ำ ) สร้างฐานะได้ไว จึงแยกครอบครัวได้ไว
ลูกเขย ไม่มีความจำเป็นแล้วไม่มีใครอยากจะ “ ชูพ่อเฒ่า ” เลย เพราะทุกข์ยากทั้งกายและใจ สำรวมทุกอริยาบท ต้อง “ คะลำ ” หลายอย่าง ทำงานสารพัด จนมีคำพูดว่า “ เล็กอยู่เฮินว้าเขย ” ( เหล็กอยู่เรือนเรียกว่า พร้า ข้าอยู่เรือนเรียกว่า เขย ) เสมือนว่าเขยคือขี้ข้าคนหนึ่งในเรือน ความทุกข์ยากของเขยชูพรรณาไว้เป็นผญาอีสาน ดังนี้
“ เป็นเขยนี้ทุกข์ยากหัวใจ
เฮ็ดแนวใดย่านแต่เพิ่นว่า ( ทำอะไรกลัวแต่ท่านว่า )
สานกะต่ากะด้งกะเบียน
อยู่ในเฮือนมุมุบมุม้าย ( อยู่ในเรือนแบบเจียมตัว ก้มหน้าอยู่ )
บ่ว่าฮ้ายมันแม่นอีหลี ( ไม่ได้ใส่ความ เพราะมันเป็นความจริง )
แต่หัวทีเกินอุกเกินอั่ง ( ในหัวคิดมีแต่ความกลัดกลุ้ม )
นั่งบ่อนใดย่านแต่ผิดแม่เฒ่า ( นั่งตรงไหนกลัวแต่ผิดแม่ยาย )
ชาวมือกะบ่ติง ( 20 วันก็ไม่ไหวติง ( อยู่อย่างเจียมตัว ))
เถิงบาดยามกินข้าวสองสามคำกะพัดอิ่ม ( ยามกินข้าว 2-3 คำก็อิ่ม )
ชิมอันนั้นอันนี้หนี้จ้อยบ่อยู่คน ( ชิมถ้วยนั้นถ้วยนี้หนีไปไม่อยู่นาน )
ฝูงหมู่คนกินข้าวนำกันก็เหลียวเบิ่ง ( ฝูงหมู่คนกินข้าวด้วยกันก็เหลียวดู )
ส่งบาดยุ้มบาดแย้มแนมเจ้าว่าจังใด ( ส่งยิ้มเป็นนัยๆว่าเจ้าเขยเป็นอย่างไรท่วงทีละอายหรือเปล่า)”
สมัยก่อนเขยชูต้องจำใจอยู่ เขยชูที่ทุกข์ยากมาขอ “ ชู ” พ่อตานี้มีโอกาสได้ออกเรือนต่างหาก คือ เมื่อตั้งตัวได้ก็ขอออกเรือนไปเลย ( หมายถึงว่า 2-3 ปีจึงออก) แต่ประเภทที่พ่อตามีลูกคนเดียวเป็นลูกสาว หรือมีลูกสาวเดียว ลูกชายออกเรือนไปอยู่ต่างหาก พ่อตาต้องการให้ลูกเขยมาเลี้ยงจึงให้มาเป็นเขยชู ประเภทนี้ต้องอยู่กับพ่อตาแม่ยายตลอดไป ถ้าพ่อตาไม่ให้ออกเรือนก็ต้องชูตลอดไป จนพ่อตาแม่ยายเสียชีวิตแต่ก็คุ้มเพราะมรดกพ่อตาเขยชูจะเป็นผู้ได้มากกว่า
ในปัจจุบันนี้เขยชูประเภทที่ออกเรือนได้ จะออกเรือนเร็วกว่าอดีต เพราะความเจริญก้าวมาถึง การหาเงินหาทองเพื่อสร้างฐานะได้เร็วกว่าดังได้กล่าวมาแล้ว ถึงแม้จะมีการชูพ่อเฒ่า พ่อเฒ่าก็หัวสมัยใหม่พยายามทำให้ลูกเขยอยู่อย่างสบายใจเป็นกันเอง แต่อยู่ในครอบครัวของสังคมทั่วไปสำหรับฮีตสำคัญก็ยังปฏิบัติอยู่ เช่น ห้ามกระทำบางอย่างบนบ้านพ่อตา เช่น ลับพร้า ขัดฟักพร้า ดีด สี ตี เป่า ร้อง รำ ทำเพลง จับมือถือแขนน้องสาวภรรยายังห้ามทุกกาลเทศะ

การอพยพของชาวภูไท ครั้งใหญ่

สำหรับการอพยพครั้งใหญ่ของชาวผู้ไทยเข้าสู่ประเทศไทยมี 3 ระลอกด้วยกัน คือ
ระลอกที่ 1 สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321 ถึง 2322 กองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ( รัชกาลที่ 1 ) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ ( บุญมา ) เป็นผู้นำกองทัพนำทหารสองหมื่นคนเข้าไปตีหัวเมืองลาวตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์ ขณะที่กองทัพไทยล้อมเวียงจันทน์อยู่นั้น หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์ก็ได้ส่งกองทัพมาช่วยไทยตีเวียงจันทน์ กองทัพฝ่ายไทยล้อมเวียงจันทน์อยู่ 4 เดือนเศษก็ตีเวียงจันทน์ได้ ( พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1, 2516 : 431 – 435 ) กองทัพไทยถือโอกาสผนวกลาวทั้งหมดรวมทั้งหลวงพระบาง ซึ่งมาช่วยไทยตีเวียงจันทน์เอามาเป็นเมืองขึ้นหรือประเทศราช ตั้งแต่นั้นมาหลังจากเวียงจันทน์แตกใน พ.ศ.2322 ฝ่ายไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีหัวเมืองทางด้านตะวันออกของหลวงพระบาง มีเมืองทันต์ ( ญวนเรียกเมืองซือหงี ) เมืองม่วย สองเมืองนี้เป็นลาวทรงดำหรือผู้ไทยดำ ซึ่งอยู่ริมเขตแดนญวนได้ครอบครัวลาวทรงดำเป็นอันมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีรับสั่งให้ลาวทรงดำเหล่านี้ไปตั้งบ้านเรือนที่เพชรบุรี ( ไพโรจน์ เพชรสั่งหาร, 2531 : 30-31 ) ในช่วงของการกวาดต้อนลาวทรงดำเมืองทันต์และเมืองม่วยนั้น ผู้ไทยขาว ส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองแถง ไม่ได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย ผู้ไทยดำหรือลาวทรงดำสองเมืองนี้นับว่าเป็นผู้ไทยระลอกแรกที่ถูกอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนับถึงปัจจุบันก็ได้ 216 ปีแล้ว
ระลอกที่ 2 เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในราว พ.ศ. 2335-2338 เมืองแถงและเมืองพวนเข็งข้อต่อเวียงจันทน์กองทัพเวียงจันทน์ตีเมืองทั้งสอง ได้กวาดต้อนลาวทรงดำ ( ผู้ไทยดำ ) ลาวพวน เป็นเชลยส่งมาที่กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีรับคำสั่งให้ลาวทรงดำ ( ผู้ไทยดำ ) ไปอยู่ที่เมืองเพชรบุรีหรือ ผู้ไทยดำระลอกแรก แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์เล่ม 1 กล่าวว่าในปี พ.ศ.2335 ญวนตังเกี๋ยยกกองทัพมาตีเวียงจันทน์ เกิดการรบที่เมืองพวน กองทัพญวนถูกเวียงจันทน์ตีแตกไป กองทัพเวียงจันทน์จึงกวาดเอาครอบครัวชาย – หญิงใหญ่น้อยส่งมากรุงเทพฯ สี่พันคนเศษ หลักฐานชิ้นนี้ไม่ได้ระบุชื่อเมืองแถง และไม่ได้ระบุชื่อเมืองพวนแข็งข้อกับเวียงจันทน์ ( เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ 2505 : 190 ) แต่การที่เวียงจันทน์กวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองพวนส่งมาให้กรุงเทพฯ เป็นไปได้ว่าเมืองพวนมีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจจึงกวาดต้อนพวกนี้ออกมาเสียก่อน เพื่อไม่ให้ญวนกวาดต้อนพวกนี้ไป ซึ่งเหตุการณ์ทำนองนี้ได้เกิดขึ้นมามากในช่วงหลังกบฎเจ้าอนุวงศ์สมัยรัชกาลที่ 3
ระลอกที่ 3 ซึ่งเป็นระลอกใหญ่ที่สุด คือ การอพยพชาวไทยและประชากรกลุ่มอื่นๆบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาไว้ในภาคอีสาน และบางส่วนก็ส่งมาอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย การอพยพครั้งนี้เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ช่วงก่อนปี 2518 ( ก่อนประเทศในกลุ่มอินโดจีนเป็นคอมมิวนิสต์ ) สาเหตุสำคัญของการอพยพครั้งนี้เกิดจากรัฐบาลไทยในรัชกาลที่ 3 ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับรัฐบาลญวน สาเหตุที่ขัดแย้ง คือ ญวนพยายามขยายอำนาจเข้ามาในเขมรและลาว ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย ความขัดแย้งครั้งนั้นนำไปสู่สงครามอันยาวนานระหว่างไทยกับญวน โดยรบกันตั้งแต่ พ.ศ. 2376 และไปสิ้นสุดใน พ.ศ. 2390 พื้นที่การรบส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเขมร สงครามครั้งนั้นทั้งฝ่ายญวนและไทยต้องใช้ทรัพยากรไปเป็นอันมาก โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ ทางฝ่ายไทยได้เกณฑ์ราษฎรในภาคอีสานเป็นจำนวนมากไปเป็นทหารและลำเลียงเสบียงและยุทโธปกรณ์
ในส่วนที่กระทบต่อประชากรในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็คือ ทั้งฝ่ายไทยและญวนต่างก็แย่งชิงความได้เปรียบในสงคราม โดยการส่งกองทัพส่วนหนึ่งมากวาดต้อนเอาประชากรในลาวฝั่งซ้ายไปตั้งถิ่นฐานในเขตที่ควบคุมได้ง่าย ฝ่ายญวนค่อนข้างจะได้เปรียบไทยในตอนแรกของการกวาดต้อนราษฎรในพื้นที่ลาวฝั่งซ้าย เพราะเหตุที่ว่าคนลาวเกลียดชังคนไทยมากในตอนปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ระหว่างปี 2369-2371 ฝ่ายไทยได้ปราบกบฏอนุวงศ์อย่างรุนแรง โดยการเผาเมืองเวียงจันทน์เสียราบ แม้แต่วัดก็ถูกเผา เหลือแต่วัดพระแก้วกับวัดศรีสะเกษเท่านั้น ต้นไม้ผลก็ถูกตัดทิ้งหมดทรัพย์สินเงินทอง อาวุธยุโธปกรณ์ของเวียงจันทน์ถูกฝ่ายไทยกวาดไปหมดพร้อมทั้งกวาดต้อนราษฎรเวียงจันทน์ไปจนเกือบจะเป็นเมืองร้าง ฝ่ายไทยจัดการกับเวียงจันทน์แบบนี้เพราะไม่ต้องการให้เวียงจันทน์ตั้งตัวได้ไม่สามารถแข็งข้อเป็นกบฏกับไทยได้อีก ในขณะที่ฝ่ายญวนเข้าช่วยเหลือโอบอุ้มเจ้าอนุวงศ์เป็นอย่างดี ตอนที่เจ้าอนุวงศ์หนีการจับกุมของฝ่ายไทยในตอนที่เสียเวียงจันทน์ครั้งแรกเพราะเหตุนี้หัวเมืองลาวฝั่งซ้ายจึงอยู่กับฝ่ายญวนในตอนแรกมีเพียงหัวเมืองพวนเท่านั้นที่อยู่กับฝ่ายไทย แต่ในระยะต่อมาได้แสดงให้เห็นธาตุแท้ของตน ดังปรากฏในบันทึกเอกสารพื้นเวียง ซึ่งคนลาวบันทึกไว้ดังนี้
“ พระเจ้ากรุงแกวจึงให้โดยยี่ไปรักษาเมืองชุมพรไว้ แกว ( ญวน ) เกณฑ์ผู้คนมา
สร้างค่ายคูเมือง ปลูกตำหนักน้อยใหญ่ผู้คนทิ้งไร่- นา เพราะถูกเกณฑ์ชาวเมืองพอง ชุมพร พะลาน สะโปน ( เซโปน ) อดยากข้าวยากหมากแพง เพราะเมืองแตกผู้คนยังไม่ได้ทำนาต้องกินหัวมันแทนข้าว แกวยังข่มเหงให้ตัดไม้สร้างเมืองสร้างค่ายคู เมื่อสร้างเสร็จแล้วจัดเวรเฝ้าด่านเสียส่วยทั้งเงินทอง ควาย ช้าง ผึ้ง ผ้า เครื่องหวาย ทุกสิ่งใส่เรือส่งเมืองแกว จนชาวเมืองอดยาก ร้างไร่ ร้างนา เขาก็ค่อยพากันหนีแกวมาพึ่งลาวทีละน้อยไม่คิดจะอยู่เป็นเมืองต่อไป พวกที่หนีไม่พ้นก็เป็นเวรกรรมอยู่ที่นั้น บางพวกก็เป็นไข้ลงท้องตาย... ”
“ สำหรับพระยาน้อยเจ้าเมืองพวนที่มาเข้ากับไทยนั้น ถูกจ้องจำขื่อคาแล้วแล่เนื้อจนถึงแก่อนิจกรรม แกวก็สืบสวนหาสมบัติเจ้าเวียงจันทน์เพราะทราบว่าได้ขนสมบัติมาไว้เมืองพวนมากมาย แกวฆ่าพระยาน้อยเพื่อต้องการข้าวของ แกวเห็นแก่เงินทองมากกว่าเกรงบาป ลาวเห็นใจแกวมามากแล้วตั้งแต่โบราณ ลาวตายมอดม้วยเพราะแกวหลายครั้ง แกวไม่เคยช่วยลาวสร้างเป็นบ้านเป็นเมือง พวกแกวเป็นพวกต่างเชื้อชาติพระพุทธรูปก็ซื้อขายจ่ายกัน ศาสนาไม่มีในเมืองเขา เพราะว่าเป็นพวกภาษาสัตว์ไม่ยำเกรงพระพุทธเจ้า เขาไม่เชื่อในพระองค์...”
กล่าวโดยสรุปก็คือ ในช่วงหลังกบฎเจ้าอนุวงศ์หัวเมืองบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่ถูกฝ่ายไทยกวาดต้อนเอามาไว้ฝั่งขวา ก็มีเมืองมหาไชย เมืองพวน เมืองเชียงขวาง เมืองชุมพร เมืองพวง เมืองพะลาน เมืองเชียงคำ เมืองเชียงแมน เมืองกาย เมืองเชียงดี เมืองคำเกิด เมืองคำมวน เมืองพร้าว เมืองหาว และเมืองวัง รวม 15 เมือง เมืองเหล่านี้มีผู้คนหลายชาติพันธุ์ มีทั้ง ผู้ไทย กะเลิง โส้ ย้อ (ญ้อ) ข่า ฯลฯ การกวาดต้อนคนเหล่านี้เกิดตั้งแต่ปี 2376 เป็นต้นมา

รวมพลคนตระกูล "วังคะฮาด" "วังคะฮาต"

เว็บนี้ มีความประสงค์จะให้ญาติพี่น้อง ลูกหลานตระกูลนี้ ได้สืบค้นหาญาติพี่น้องที่อยู่ต่างจังหวัด เพื่อสื่อสารกัน ต้นตระกูลนี้ อยู่ที่บ้านคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร พูดภาษาภูไท บางคนก็เขียน "วังคะฮา" บางคนก็เป็น "วังคะฮา" แต่ก็มี "วังะฮา" อยู่จังหวัดยโสธร คิดว่าคงมาจากตระกูลเดียวกัน คิดว่านามสกุลนี้ น่าจะมากที่สุดก็ได้ ลองรวบรวมดู