วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประวัติชาวภูไท

ประวัติความเป็นมาในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ

1. ภูไทขาว อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า “ภูไทขาว”

2. ภูไทดำ อาศัยอยู่เมือง ควาย,เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า “ภูไทดำ”ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น “สิบสองจุไทย”เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรลานนา)

00000ใน พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ สิบสองจุไทยอยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกิดการอัตคัดอดอยาก และความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวภูไท กับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวภูไทเป็นจำนวนมาก (ประมาณหมื่นคน) อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอขึ้นกับเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของเมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวภูไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ให้แก่ เจ้าเมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย

การอพยพของชาวภูไทเข้าสู่ประเทศไทย มี 3 ระลอกด้วยกันคือ

00000ระลอกที่ 1 สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321-2322 เมื่อกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ได้นำกองทัพไทยสองหมื่นคนตีหัวเมืองลาว ตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์เอาไว้ได้ หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์มาก่อนก็นำกำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย แม่ทัพไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ (ญวนเรียก ซือหวี)เมืองมวย ซึ่งเป็นเมืองของชาวภูไทดำได้ทั้งสองเมือง แล้วกวาดต้อนชาวภูไทดำ(ลาวทรงดำ) เป็นจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี นับเป็นชาวภูไทรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

00000ระลอกที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2335 กองทัพเวียงจันทน์ตีหลวงพระบางแตกและจับกษัตริย์หลวงพระบางส่งกรุงเทพ ฯ ใน พ.ศ.2335-2338 กองทัพเวียงจันทน์ได้ตีเมืองแถง และเมืองพวน ซึ่งแข็งข้อต่อเวียงจันทน์ กวาดต้อนชาวภูไทดำ ลาวพวนเป็นเชลยส่งมากรุงเทพ ฯ รัชกาลที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ชาวภูไทดำประมาณ 4,000 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรีเช่นเดียวกับชาวภูไทดำรุ่นแรก

00000ระลอกที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย สาเหตุของการอพยพ คือ เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ใน พ.ศ. 2369 - 2371 และเกิดสงครามระหว่างไทยกับเวียดนามในระหว่างปี พ.ศ.2376-2490 ยุทธวิธีของสงครามสมัยนั้น คือ การตัดกำลังฝ่ายตรงข้ามทั้งฝ่ายไทยและเวียดนามต่างกวาดต้อนประชากรในดินแดนลาวมาไว้ในดินแดนของตนสำหรับประชากรในดินแดนลาวที่ถูกไทยกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยจะมีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกวาดต้อนมาไว้ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทย แถบฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น

00000ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อนมาในระลอกที่ 3 จะแยกเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน สำหรับชาวภูไทในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นพวกที่อพยพเข้ามาในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 8 ดังนี้กลุ่มที่ 3 อพยพมาจากเมืองวัง มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ใน พ.ศ.2513 อำเภอพรรณานิคม มี 7 ตำบล มีชาวภูไททั้ง 7 ตำบล รวม 65หมู่บ้าน 32,037 คน

00000อำเภอเมืองสกลนคร มีภูไท 48 หมู่บ้าน ใน 13 ตำบล จาก 17 ตำบล
00000อำเภอพังโคน มีภูไท 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน
00000อำเภอบ้านม่วง มีภูไท 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน
00000อำเภอวานรนิวาส มีภูไท 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน
00000อำเภอกุสุมาลย์ 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน
00000อำเภอสว่างแดนดิน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน
00000อำเภอกุดบาก 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน
00000อำเภอวาริชภูมิ 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน

รวมทั้งจังหวัดสกลนครมีภูไท 212 หมู่บ้าน 20,945 หลังคาเรือน 128,659 คน)

00000กลุ่มที่ 8 อพยพจากเมืองกะป๋อง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปลาเป้า บ้านนียกเป็นเมืองวาริชภูมิ และตั้งท้าวพระยาสุวรรณเป็นพระสุรินทรบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก ใน พ.ศ. 2410 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 (ใน พ.ศ.2513 มีภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 4 ตำบล ตำบลวาริชภูมิ 1 หมู่บ้าน ตำบลคำบ่อ 12 หมู่บ้าน ตำบลปลาโหล 9 หมู่บ้าน และตำบลเมืองลาด 7 หมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน)ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อน-อพยพมาตั้งภูมิลำเนา ในจังหวัดสกลนคร อย่างเป็นปึกแผ่น ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หัวหน้าแต่ละพวกที่แยกย้ายกันอยู่ ได้ติดต่อปรึกษากับเจ้าเมืองที่ตนอาศัยอยู่เพื่อขอตั้งเมือง เช่น เจ้าเมืองโฮงกลางสี ที่อยู่บ้านพังพร้าว ท้าวแก้ว อยู่ที่บ้านจำปา และท้าวราชนิกุล อยู่บ้านหนองหอย ก็ติดต่อกับเจ้าเมืองสกลนคร เพื่อตั้งหมู่บ้านที่ตนตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นเมือง คือ บ้านพังพร้าว ขอตั้งเป็นเมืองพรรณานิคมบ้านจำปา ขอตั้งเป็นเมืองจำปาชนบท และบ้านหนองหอย ขอตั้งเป็นเมืองวาริชภูมิ เป็นต้นสำหรับชาวภูไททั้ง 8 กลุ่ม ได้ขยายจำนวนออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสานอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา รวมเป็น 9 จังหวัด 33 อำเภอ 494 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้

00000 1.จังหวัดสกลนคร 212 หมู่บ้าน 9 อำเภอ(พรรณานิคม เมืองสกลนครวาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง วานรนิวาส กุสุมาลย์ สว่างแดนดิน กุดบาก)
00000 2. จังหวัดนครพนม 131 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (นาแก เรณูนคร ธาตุพนม ศรีสงคราม เมืองนครพนม)
00000 3. จังหวัดมุกดาหาร 68 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (คำชะอีก เมืองมุกดาหาร นิคมคำสร้อย ดอนตาล หนองสูง)
00000 4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 63 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สมเด็จ สหัสขันธ์)
00000 5. จังหวัดหนองคาย 6 หมู่บ้าน 3 อำเภอ(โซ่พิสัย บึงกาฬ พรเจริญ)
00000 6. จังหวัดอำนาจเจริญ 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (เสนางคนิคม ขานุมาน)
00000 7. จังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (วังสามหมอ ศรีธาตุ)
00000 8. จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ (เลิงนกทา)
00000 9. จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)


(สุวิทย์ ธีรศาศวัต และ ณรงค์ อุปัญญ์, 2538:21-29)


วัฒนธรรมการแต่งกาย

00000 โดยลักษณะทางสังคม ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษ และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอเสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฎเสื้อผ้าชนิดต่างๆ ทั้งฝ้าฝ้าย ผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4 ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่า“ผ้าดำ” หรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทยเสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. 2480 โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

00000 ผ้าห่ม การทอผ้าผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของชาวกลุ่มพื้นอีสานมานานแล้วผ้าห่มใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับไทยลาวที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมามีขนาดเล็ก ทำเป็นผ้าสไบเป็นส่วนแทนประโยชน์ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกปิดร่างกายส่วนบน โดยการห่มทับเสื้อ ผ้าห่มของภูไทที่เรียกว่า ผ้าจ่อง เป็นผ้าทอด้ายยืน มีเครื่องลาย เครื่องพื้นหลายแบบนอกจากนี้ยังมีผ้าแพรวานอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวภูไทยังมีผ้าลาย ซึ่งใช้เป็นผ้ากั้นห้อง หรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลาง 2 ผืน เป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ผ้าลายที่มีชื่อคือผ้าลายบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร การแต่งกายของชาวภูไท ยังนิยมสายสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า (ก้องแขน ก้องขา) ทำด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรงในสมัยโบราณใช้ผ้ามนหรือแพรมน ทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผมอวดลายผ้าด้านหลังใน ปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทนแพรมน

ประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าผู้ไทย

00000 กลุ่มชาติพันธุ์ของชาวผู้ไทยในอดีตเป็นชนชาติไทยสาขาหนึ่ง แต่เดิมอาศัยอยู่ในบริเวณเมืองแถงและเมืองไล ในแคว้นสิบสองจุไทยพื้นที่บริเวณแถบนี้เป็นป่าเขาไม่อุดมสมบูรณ์นัก รวมทั้งยังเป็นดินแดนคาบเกี่ยวอยู่ในการปกครองถึง 3 ฝ่าย คือ จีน หลวงพระบางและญวน เมื่อเกิดสงครามระหว่างจีน ญวน และหลวงพระบาง เกิดขึ้นการยกทัพจะต้องผ่านดินแดนสิบสองจุไทยชาวผู้ไทยก็ต้องพลอยเดือนร้อนเสมอ โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาด ชาวผู้ไทยเป็นกลุ่มชนที่รักความสงบจึงพากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองวัง เมืองคำเกิด และเมืองคำม่วน ในประเทศลาวในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ยกทัพไปตีเมืองล้านช้างก็เคยกวาดต้อนเชลยผู้ไทยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ต่อมาในรัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าเมืองอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์เป็นกบฏ พระองค์ทรงสั่งให้แม่ทัพไปปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ และเมื่อปราบกบฏเสร็จเรียบร้อยแล้ว กองทัพไทยจึงได้กวาดต้อนครอบครัวชาวผู้ไทยที่เมืองวัง เมืองคำเกิด และเมืองคำม่วน ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งไทยเป็นการตัดกำลังของฝ่ายลาว และโปรดให้ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินในท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

00000 ชาวผู้ไทยส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น บรรพบุรุษล้วนแต่ อพยพมาจากเมืองวังทั้งสิ้น แต่เดิมผู้ไทยที่อยู่ในเมืองวังในอดีตนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในเมืองแถง ซึ่งอยู่ตอนใต้ของประเทศจีนในแคว้นสิบสองจุไทยมาก่อน ชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ ผู้ไทยดำ และผู้ไทยขาว ผู้ไทยดำ เป็นผู้ไทยแท้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 8 เมือง คือ เมืองแถง เมืองตุ่ง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโม่ะ เมืองหวัด เมืองชาง และเมืองคาย ลักษณะของชาวผู้ไทยดำเป็นคนผิวขาวกิริยาอาการคล้ายชาวลาวชอบรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก การแต่งกายผู้ชายนุ่งกางเกงขาแคบ ใช้ผ้าด้ายตาเมล็ดงาสีดำ หรือนุ่งผ้าขาวม้าด้ายสีขาว สวมเสื้อด้ายสีดำ เครื่องประดับของชายมีกำไลมือและแหวน ผู้หญิงนุ่งซิ่นใส่เสื้อผ้าสีดำ มีกำไลเงินกับต่างหูเป็นเครื่องประดับประจำตัวอยู่เสมอ ผู้หญิงที่ยังไม่มีสามีจะเกล้ามวยผม เมื่อมีสามีแล้วก็จะเกล้าผมสูง เครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่ใช้สีดำหรือสีเข็มๆ ด้วยลักษณะการแต่งกายนี้เองจึงเรียกชื่อว่า “ ผู้ไทยดำ ” ผู้ไทยขาว ต้นกำเนิดเป็นจีนแช่ฟอ อพยพเข้ามาจากเมืองสินเจา ใกล้เมืองกว้างตุ้ง อพยพมาอยู่กับพวกผู้ไทยที่เมืองไล เมืองเจียน เมืองมุน และเมืองบาง รวม 4 เมือง ต่อมาจีนแช่ฟอได้เป็นเมือง จึงเรียกว่า สิบสองผู้ไทย หรือสิบสองจุไทย นอกจากนี้ยังมีชนชาติอื่นรวมอยู่บ้าง เช่น ข่าเย้า พม่า เป็นต้น ผู้ไทยขาวนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีขาว โดยเฉพาะเมื่อมีการทำศพ จะนุ่งห่มด้วยเครื่องแต่งกายขาวล้วนอยู่จนครบ 3 ปี ด้วยลักษณะการแต่งกายนี้เองจึงเรียกชื่อว่า “ ผู้ไทยขาว ” การอพยพโยกย้ายของชาวผู้ไทย และการตั้งถิ่นฐานในที่ต่างๆ จนได้ให้ขึ้นเป็นชนที่มีเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร เป็นกรมการเมืองปกครองขึ้นกับเมืองใหญ่ในเขต แขวง โดยมีเมืองต่างๆ ที่มีชาวผู้ไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ ดังต่อไปนี้

00000 1. เมืองเรณูนคร ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ประมาณ พ.ศ. 2373 ชาวผู้ไทยเมืองเรณูนครอพยพมาจากเมืองวัง ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อยู่ติดแดนญวน เมื่ออพยพมาครั้งแรกนั้นพากันตั้งบ้านอยู่ 3 แห่ง คือ ที่บ้านห้วยขัว ( สำเนียงผู้ไทยเรียกโห้ยโหโข อยู่ใต้บ้านท่าคอย ตำบลโพนทองปัจจุบัน ) บ้านบ่อจันทร์ ( อยู่ระหว่างบ้านดงมะเอก ตำบลโพนทอง กับบ้านโคกกลาง ตำบลเรณูนครในปัจจุบัน และบ้านดงหวาย ที่ตั้งเมืองเรณูนครในปัจจุบัน ) เมื่อได้รับยกขึ้นเป็นเมืองเรณูนครโดยมีเจ้าเพชรเจ้าสายเป็นหัวหน้าอำนวยการจัดสร้างเมืองขึ้น จึงได้อพยพราษฎรจากหมู่บ้านทั้ง 3 แห่งเข้ามารวมอยู่ที่บ้านดงหวาย ซึ่งเป็นที่ตั้งเรณูนครในปัจจุบันแล้วจึงให้ท้าวสายเป็น “ พระแก้วโกมล ” เจ้าเมืองคนแรก จัดการปกครองสืบต่อกันมาจนถึงเจ้าไพร เจ้าสิงห์ เจ้าพิมพะสอนและเจ้าเหม็น ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระแก้วโกมล ชื่อเดียวกันเป็นลำดับมา ภายหลังทางราชการได้ลดฐานะลงเป็นอำเภอเรณูนครจนถึงปัจจุบัน

00000 2. เมืองพรรณานิคม ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีท้าวโฮงกลาง เป็นผู้นำในการสร้างเมืองจึงตั้งให้เป็น “ พระเสนณรงค์ ” เจ้าเมืองคนแรกปกครองเมืองพรรณานิคม จัดการปกครองต่อกันมา ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

00000 3. เมืองกุดสินารายณ์ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง โดยมีราชวงศ์ ( กอ ) หรือบางฉบับเรียกว่า ( วอ ) ของเมืองวังอพยพมาด้วยเมื่อได้ยกเมืองกุดสินารายณ์ ขึ้นเป็นเมืองกุดสินารายณ์ จึงโปรดเกล้าฯให้ราชวงศ์ ( กอ ) เมืองวังเป็น “ พระธิเบศวงศา ” เป็นเจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

00000 4. เมืองแล่นช้าง ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 บรรพบุรุษของชาวเมืองแล่นช้าง อพยพมาจากบ้านห้วยนายม แขวงเมืองวังโดยมีหมื่นเดชอุดมเป็นหัวหน้าเมื่อได้จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วได้โปรดเกล้าฯให้หมื่นเดชอุดมเป็น “ พระพิชัยอุดมเดช ” เจ้าเมืองคนแรก ต่อมายุบเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2442 แล้วยุบเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ.2452 ปัจจุบันตำบลภูแล่นช้างขึ้นอยู่กับอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

00000 5. เมืองหนองสูง ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 บรรพบุรุษเป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง โปรดเกล้าฯให้ท้าวสิงห์ หรือท้าวสีหนามเป็น “ พระไกรสรราช ” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอหนองสูง อำเภอคำชะอีบางส่วน และท้องที่อำเภอนาแก รวมกันเข้าเป็นเมืองหนองสูงเดิม

000006. เมืองเสนางคนิคม ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2382 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน ( เซโปน ) โปรดเกล้าฯให้พระศรีสุราช ( ท้าวจันทร์ ) เป็น ( พระศรีสินธุสงคราม ) เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาถูกยุบเป็นอำเภอเสนางคนิคม ในปี พ.ศ.2445 แล้วถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเสนางคนิคม ให้ขึ้นกับอำเภออำนาจเจริญ ในวันที่ 24 เมษายน 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจากกิ่งอำเภอเสนางคนิคมเป็นกิ่งอำเภอหนองทับม้า ปัจจุบันถูกยุบลงเป็นตำบลเสนางคนิคมขึ้นกับอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

000007. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน แต่เดิมเมืองคำเขื่อนแก้ว เรียกว่า บ้านคำเมืองแก้ว โปรดเกล้าฯตั้งให้ท้าวสีหนามเป็น” พระรามณรงค์ ” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งไม่ใช่อำเภอคำเขื่อนแก้วในปัจจุบัน

000008. เมืองวาริชภูมิ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2402 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวพรหมสุวรรณ เป็น “ พระสุรินทรบริรักษ์ ” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

1 ความคิดเห็น:

Nara Ang กล่าวว่า...

แล้วอังคะฮาดล่ะคะ?????