วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การอพยพของชาวภูไท ครั้งใหญ่

สำหรับการอพยพครั้งใหญ่ของชาวผู้ไทยเข้าสู่ประเทศไทยมี 3 ระลอกด้วยกัน คือ
ระลอกที่ 1 สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321 ถึง 2322 กองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ( รัชกาลที่ 1 ) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ ( บุญมา ) เป็นผู้นำกองทัพนำทหารสองหมื่นคนเข้าไปตีหัวเมืองลาวตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์ ขณะที่กองทัพไทยล้อมเวียงจันทน์อยู่นั้น หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์ก็ได้ส่งกองทัพมาช่วยไทยตีเวียงจันทน์ กองทัพฝ่ายไทยล้อมเวียงจันทน์อยู่ 4 เดือนเศษก็ตีเวียงจันทน์ได้ ( พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1, 2516 : 431 – 435 ) กองทัพไทยถือโอกาสผนวกลาวทั้งหมดรวมทั้งหลวงพระบาง ซึ่งมาช่วยไทยตีเวียงจันทน์เอามาเป็นเมืองขึ้นหรือประเทศราช ตั้งแต่นั้นมาหลังจากเวียงจันทน์แตกใน พ.ศ.2322 ฝ่ายไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีหัวเมืองทางด้านตะวันออกของหลวงพระบาง มีเมืองทันต์ ( ญวนเรียกเมืองซือหงี ) เมืองม่วย สองเมืองนี้เป็นลาวทรงดำหรือผู้ไทยดำ ซึ่งอยู่ริมเขตแดนญวนได้ครอบครัวลาวทรงดำเป็นอันมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีรับสั่งให้ลาวทรงดำเหล่านี้ไปตั้งบ้านเรือนที่เพชรบุรี ( ไพโรจน์ เพชรสั่งหาร, 2531 : 30-31 ) ในช่วงของการกวาดต้อนลาวทรงดำเมืองทันต์และเมืองม่วยนั้น ผู้ไทยขาว ส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองแถง ไม่ได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย ผู้ไทยดำหรือลาวทรงดำสองเมืองนี้นับว่าเป็นผู้ไทยระลอกแรกที่ถูกอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนับถึงปัจจุบันก็ได้ 216 ปีแล้ว
ระลอกที่ 2 เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในราว พ.ศ. 2335-2338 เมืองแถงและเมืองพวนเข็งข้อต่อเวียงจันทน์กองทัพเวียงจันทน์ตีเมืองทั้งสอง ได้กวาดต้อนลาวทรงดำ ( ผู้ไทยดำ ) ลาวพวน เป็นเชลยส่งมาที่กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีรับคำสั่งให้ลาวทรงดำ ( ผู้ไทยดำ ) ไปอยู่ที่เมืองเพชรบุรีหรือ ผู้ไทยดำระลอกแรก แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์เล่ม 1 กล่าวว่าในปี พ.ศ.2335 ญวนตังเกี๋ยยกกองทัพมาตีเวียงจันทน์ เกิดการรบที่เมืองพวน กองทัพญวนถูกเวียงจันทน์ตีแตกไป กองทัพเวียงจันทน์จึงกวาดเอาครอบครัวชาย – หญิงใหญ่น้อยส่งมากรุงเทพฯ สี่พันคนเศษ หลักฐานชิ้นนี้ไม่ได้ระบุชื่อเมืองแถง และไม่ได้ระบุชื่อเมืองพวนแข็งข้อกับเวียงจันทน์ ( เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ 2505 : 190 ) แต่การที่เวียงจันทน์กวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองพวนส่งมาให้กรุงเทพฯ เป็นไปได้ว่าเมืองพวนมีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจจึงกวาดต้อนพวกนี้ออกมาเสียก่อน เพื่อไม่ให้ญวนกวาดต้อนพวกนี้ไป ซึ่งเหตุการณ์ทำนองนี้ได้เกิดขึ้นมามากในช่วงหลังกบฎเจ้าอนุวงศ์สมัยรัชกาลที่ 3
ระลอกที่ 3 ซึ่งเป็นระลอกใหญ่ที่สุด คือ การอพยพชาวไทยและประชากรกลุ่มอื่นๆบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาไว้ในภาคอีสาน และบางส่วนก็ส่งมาอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย การอพยพครั้งนี้เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ช่วงก่อนปี 2518 ( ก่อนประเทศในกลุ่มอินโดจีนเป็นคอมมิวนิสต์ ) สาเหตุสำคัญของการอพยพครั้งนี้เกิดจากรัฐบาลไทยในรัชกาลที่ 3 ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับรัฐบาลญวน สาเหตุที่ขัดแย้ง คือ ญวนพยายามขยายอำนาจเข้ามาในเขมรและลาว ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย ความขัดแย้งครั้งนั้นนำไปสู่สงครามอันยาวนานระหว่างไทยกับญวน โดยรบกันตั้งแต่ พ.ศ. 2376 และไปสิ้นสุดใน พ.ศ. 2390 พื้นที่การรบส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเขมร สงครามครั้งนั้นทั้งฝ่ายญวนและไทยต้องใช้ทรัพยากรไปเป็นอันมาก โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ ทางฝ่ายไทยได้เกณฑ์ราษฎรในภาคอีสานเป็นจำนวนมากไปเป็นทหารและลำเลียงเสบียงและยุทโธปกรณ์
ในส่วนที่กระทบต่อประชากรในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็คือ ทั้งฝ่ายไทยและญวนต่างก็แย่งชิงความได้เปรียบในสงคราม โดยการส่งกองทัพส่วนหนึ่งมากวาดต้อนเอาประชากรในลาวฝั่งซ้ายไปตั้งถิ่นฐานในเขตที่ควบคุมได้ง่าย ฝ่ายญวนค่อนข้างจะได้เปรียบไทยในตอนแรกของการกวาดต้อนราษฎรในพื้นที่ลาวฝั่งซ้าย เพราะเหตุที่ว่าคนลาวเกลียดชังคนไทยมากในตอนปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ระหว่างปี 2369-2371 ฝ่ายไทยได้ปราบกบฏอนุวงศ์อย่างรุนแรง โดยการเผาเมืองเวียงจันทน์เสียราบ แม้แต่วัดก็ถูกเผา เหลือแต่วัดพระแก้วกับวัดศรีสะเกษเท่านั้น ต้นไม้ผลก็ถูกตัดทิ้งหมดทรัพย์สินเงินทอง อาวุธยุโธปกรณ์ของเวียงจันทน์ถูกฝ่ายไทยกวาดไปหมดพร้อมทั้งกวาดต้อนราษฎรเวียงจันทน์ไปจนเกือบจะเป็นเมืองร้าง ฝ่ายไทยจัดการกับเวียงจันทน์แบบนี้เพราะไม่ต้องการให้เวียงจันทน์ตั้งตัวได้ไม่สามารถแข็งข้อเป็นกบฏกับไทยได้อีก ในขณะที่ฝ่ายญวนเข้าช่วยเหลือโอบอุ้มเจ้าอนุวงศ์เป็นอย่างดี ตอนที่เจ้าอนุวงศ์หนีการจับกุมของฝ่ายไทยในตอนที่เสียเวียงจันทน์ครั้งแรกเพราะเหตุนี้หัวเมืองลาวฝั่งซ้ายจึงอยู่กับฝ่ายญวนในตอนแรกมีเพียงหัวเมืองพวนเท่านั้นที่อยู่กับฝ่ายไทย แต่ในระยะต่อมาได้แสดงให้เห็นธาตุแท้ของตน ดังปรากฏในบันทึกเอกสารพื้นเวียง ซึ่งคนลาวบันทึกไว้ดังนี้
“ พระเจ้ากรุงแกวจึงให้โดยยี่ไปรักษาเมืองชุมพรไว้ แกว ( ญวน ) เกณฑ์ผู้คนมา
สร้างค่ายคูเมือง ปลูกตำหนักน้อยใหญ่ผู้คนทิ้งไร่- นา เพราะถูกเกณฑ์ชาวเมืองพอง ชุมพร พะลาน สะโปน ( เซโปน ) อดยากข้าวยากหมากแพง เพราะเมืองแตกผู้คนยังไม่ได้ทำนาต้องกินหัวมันแทนข้าว แกวยังข่มเหงให้ตัดไม้สร้างเมืองสร้างค่ายคู เมื่อสร้างเสร็จแล้วจัดเวรเฝ้าด่านเสียส่วยทั้งเงินทอง ควาย ช้าง ผึ้ง ผ้า เครื่องหวาย ทุกสิ่งใส่เรือส่งเมืองแกว จนชาวเมืองอดยาก ร้างไร่ ร้างนา เขาก็ค่อยพากันหนีแกวมาพึ่งลาวทีละน้อยไม่คิดจะอยู่เป็นเมืองต่อไป พวกที่หนีไม่พ้นก็เป็นเวรกรรมอยู่ที่นั้น บางพวกก็เป็นไข้ลงท้องตาย... ”
“ สำหรับพระยาน้อยเจ้าเมืองพวนที่มาเข้ากับไทยนั้น ถูกจ้องจำขื่อคาแล้วแล่เนื้อจนถึงแก่อนิจกรรม แกวก็สืบสวนหาสมบัติเจ้าเวียงจันทน์เพราะทราบว่าได้ขนสมบัติมาไว้เมืองพวนมากมาย แกวฆ่าพระยาน้อยเพื่อต้องการข้าวของ แกวเห็นแก่เงินทองมากกว่าเกรงบาป ลาวเห็นใจแกวมามากแล้วตั้งแต่โบราณ ลาวตายมอดม้วยเพราะแกวหลายครั้ง แกวไม่เคยช่วยลาวสร้างเป็นบ้านเป็นเมือง พวกแกวเป็นพวกต่างเชื้อชาติพระพุทธรูปก็ซื้อขายจ่ายกัน ศาสนาไม่มีในเมืองเขา เพราะว่าเป็นพวกภาษาสัตว์ไม่ยำเกรงพระพุทธเจ้า เขาไม่เชื่อในพระองค์...”
กล่าวโดยสรุปก็คือ ในช่วงหลังกบฎเจ้าอนุวงศ์หัวเมืองบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่ถูกฝ่ายไทยกวาดต้อนเอามาไว้ฝั่งขวา ก็มีเมืองมหาไชย เมืองพวน เมืองเชียงขวาง เมืองชุมพร เมืองพวง เมืองพะลาน เมืองเชียงคำ เมืองเชียงแมน เมืองกาย เมืองเชียงดี เมืองคำเกิด เมืองคำมวน เมืองพร้าว เมืองหาว และเมืองวัง รวม 15 เมือง เมืองเหล่านี้มีผู้คนหลายชาติพันธุ์ มีทั้ง ผู้ไทย กะเลิง โส้ ย้อ (ญ้อ) ข่า ฯลฯ การกวาดต้อนคนเหล่านี้เกิดตั้งแต่ปี 2376 เป็นต้นมา

13 ความคิดเห็น:

ตุ๊กตา กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ ยินดีและดีใจ ที่ได้รู้จักกับญาติทุกคน
คุณพ่อสว่าง วังคะฮาต (บ่าวหวาง) เป็นคนคำชะอี จังหวัดมุขดาหาร คุณพ่อพบรักกับคุณแม่ที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันอยู่อำเภอกมลาไสย
เราจึงมีสายเลือดผู้ไทครึ่งหนึ่งจ๊ะ

ตุ๊กตา กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ ยินดีและดีใจ ที่ได้รู้จักกับญาติทุกคน
คุณพ่อสว่าง วังคะฮาต (บ่าวหวาง) เป็นคนคำชะอี จังหวัดมุขดาหาร คุณพ่อพบรักกับคุณแม่ที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันอยู่อำเภอกมลาไสย
เราจึงมีสายเลือดผู้ไทครึ่งหนึ่งจ๊ะ

ple_wang180 กล่าวว่า...

สวัสดีคับพี่น้องวังคะฮาต ผมนายพูลทรัย์ วังคะฮาต(เปิ้ล)ลูกพ่ออุบลกับแม่อำนวยวังคะฮาต บ้านอยู่หน้าวัดโพธิศีรแก้วบ้านคำชะอี เป็นคนผูไทเต็มสายเลือดคับ ตอนนี้อยู่ปากเกร็ดนทบุรีคับ คิดฮอตบ้านอย่างแรงนิ ยินดีที่ได้รู้จักพี่น้องทุกคนคับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

My name is Supakul Wangkhahat. Right now I'm working as a tutor in Khon Kaen. My grandfather is Mr. Nikorn and my grandmother is Mrs. Noopak. My father? Mr. Banyat Wangkhahat and my Mother is Mrs.Sompong Wangkhahat. All of us are now in Khon Kaen. it's my great pleasure to be here as a member of this family. I'm quite sorry for not being able to type in Thai because I am not good at typing in the Thai Language. what I would like to express here is that I an so glad that a person, probably my uncle Ajarn Samart, has created this impressive channel of communication where we can indicate ourselves as a member of this family name. I'm personally proud of being a 'Wangkhahat', and I wish all the Wangkhahats here can successfully go on with their vocational goals and all happiness. With all the realization of being and sharing our family name though we might never meet one another. Supakul Wangkhahat. Thank you.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมนายโชคทวี วังคะฮาต รับราชการเป็นสาธารณสุขอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร บ้านเกิด อำเภอหนองสูง พ่ออินหนูน ตระกูลมาจากบ้านคะชะอี ปู่ชื่อนะ วังคะฮาต ปู่ทวดชื่อนายฮ้อยเชียงมอญ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมนายโชคทวี วังคะฮาต รับราชการเป็นสาธารณสุขอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร บ้านเกิด อำเภอหนองสูง พ่ออินหนูน ตระกูลมาจากบ้านคะชะอี ปู่ชื่อนะ วังคะฮาต ปู่ทวดชื่อนายฮ้อยเชียงมอญ

โปรสามารถ วังคะฮาด กล่าวว่า...

ยินดีที่ได้รู้จักครับ
มานครพนม แวะได้ครับ ผอ.สามารถ โรงเรียนกีฬา เบอร์โทรครับ 0832837631

โปรสามารถ วังคะฮาด กล่าวว่า...

http://swangkahart.blogspot.com/2007/08/blog-post_08.html คลิ๊กลิงค์นี้ได้

โปรสามารถ วังคะฮาด กล่าวว่า...

http://www.blogger.com/comment.g?blogID=755858580609390598&postID=253631988654620215

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

นายจำนงค์ วังคะฮาต ครู คศ.3 ร.ร.บ้านโพนไฮ

Unknown กล่าวว่า...

ญาติเราเยอะจิงเน๊อะตระวังคะฮาต

Unknown กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้เจอญาติกันนะคะ อยู่มุกดาหารค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

มีใครรู้ความหมายของนามสกุลมั้ยคะ หนูขื่อชัชชญา วังคะฮาด ค่ะอายุ12 หนูหาความหมายไปส่งครูเเค่หนูหาไม่เจอมีใครรู้ช่วยบอกด้วยนะคะขอบคุณค่ะ😊🙏